

38
นิตยสาร สสวท
แนวทางที่สามที่เราสามารถกระตุ้นความสนใจใน
การเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพัฒนาทัศนคติของ
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในสังคมไทย คือการปรับโครงสร้าง
ของระบบรางวัลส�ำหรับนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกในค่ายและ
ตัวแทนประเทศ โดยมองคุณค่าการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ
ว่าเป็นการกระตุ้นให้สังคมไทยเป็นสังคมที่รู้จักใช้วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและคิดอย่างมีเหตุมีผล ในอดีตที่ผ่านมา ระบบ
รางวัลที่ให้แก่นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกในค่ายเป็นการให้ทุน
ไปเรียนระดับชั้นปริญญาตรีถึงปริญญาเอกเฉพาะบางสาขาวิชา
โดยมีเงื่อนไขให้นักเรียนกลับมาท�ำงานใช้ทุนในหน่วยงานรัฐ
เป็นเวลา 10 ปี เรื่องนี้ควรมีการทบทวนเงื่อนไขเกี่ยวกับ
ระเบียบหลักเกณฑ์การให้ทุน การเพิ่มสาขาวิชาให้ทุนที่
สอดคล้องกับบริบทของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ปัจจุบัน
ที่มีบทบาทในหลายสาขาวิชามากขึ้น เช่น การแพทย์ หรือ
เศรษฐศาสตร์ ควรมีการอนุญาตให้ใช้ทุนในหน่วยงานเอกชน
ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในประเทศ และ
แนวทางอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเข้ามาแข่งขันโอลิมปิก
วิชาการและสนใจคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมถึงเพื่อรับ
ทุนการศึกษาเพิ่มขึ้น
โดยสรุป หัวใจของเรื่องทั้งหมดคือ การแข่งขัน
โอลิมปิกวิชาการได้มาถึงจุดที่ต้องเปลี่ยนแล้ว นั่นไม่ได้
หมายความว่าที่ผ่านมาเราท�ำได้ไม่ดีแต่ที่จริงแล้วเราท�ำได้
ดีมากจนถึงจุดอิ่มตัว ในขณะเดียวกัน เราก็ได้เห็นหนทาง
ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อยกระดับสิ่งที่ดีให้ดียิ่งขึ้น โดยใช้
เทคโนโลยีการสอนเข้าถึงผู้เรียนและประชาชนทั่วไป การน�ำ
นักเรียนเก่ารวมทั้งผู้แทนที่มีจ�ำนวนมากพอเข้ามาเป็นพลัง
ขับเคลื่อนโครงการอย่างเป็นระบบ และควรมีการปรับ
โครงสร้างระบบรางวัลให้สอดคล้องกับโลกที่ยืดหยุ่นและมี
ความหลากหลายมากขึ้น แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงอาจท�ำ
ให้เรารู้สึกกลัว แต่ถ้าเราเปลี่ยนอย่างเป็นระบบ และเปลี่ยน
อย่างเป็นวิทยาศาสตร์คือคิดไตร่ตรองด้วยเหตุผล ฟังความ
คิดเห็นของทุกฝ่าย ลงมือท�ำ วัดผล และปรับปรุง เชื่อว่า
การแข่ งขันโอลิมปิกวิชาการจะน�ำสังคมไทยไปสู่สังคม
ประชาธิปไตย ที่มีการคิดอย่างมีเหตุมีผล และใช้วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน
ภาพ:
การฝึกภาคปฏิบัติของนักเรียนที่เป็นผู้แทนประเทศไทย
ไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ