

33
ปีที่ 44 ฉบับที่ 200 พฤษภาคม - มิถุนายน 2559
ได้ที่ธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งจะมีหลากหลายแบบเพื่อให้เลือก
ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล หรือที่ท�ำงานบางแห่ง
อาจมีกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ
4
เป็นสวัสดิการพนักงานเพื่อ
เป็นการออมเงินไว้ให้พนักงาน เวลาเกษียณจะได้มีเงินก้อนใช้
“วินัย” สอนไว้ว่า เงินส่วนนี้ เก็บแล้วห้ามถอน
ออกมาใช้ ให้ฝากยาว แต่หมั่นตรวจเช็คดูว่ามีจ�ำนวนเท่าไหร่
และวางแผนน�ำเงินไปลงทุนเพื่อต่อยอดจ�ำนวนเงินให้เพิ่ม
มากขึ้น เช่น อาจจะลงทุนในหุ้น
5
หรือ กองทุนอสังหาริมทรัพย์
6
เป็นต้นทั้งนี้ เราต้องศึกษารายละเอียดของการลงทุนแต่ละประเภท
ให้เหมาะกับความเสี่ยงที่เรารับได้
เงินใช้จ่ายประจำ�
กันเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่าย
ส�ำหรับค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นประจ�ำ
รายเดือน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร
ค่าพาหนะ ค่าน�้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
ค่าอินเทอร์เน็ต
เงินฉุกเฉิน
เก็บเงินบางส่วนไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน เช่น
ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมบ�ำรุงบ้าน-รถ ซึ่งหากเดือนไหน
ไม่ได้ใช้ก็สามารถโยกไปเป็นเงินออมได้
เงินอื่นๆ
ค่าใช้จ่ายทางสังคม ค่าท�ำบุญงานศพ ค่าของขวัญ
งานแต่งงาน ค่าเสื้อผ้า เครื่องใช้ส่วนตัว เป็นต้น
เพื่อให้มนุษย์เงินเดือน (น้อย) สามารถด�ำรงชีวิต
อยู่ได้อย่างราบรื่น เพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลกระทบ
ต่อการด�ำรงชีวิต และก�ำลังซื้ออยู่ในภาวะถดถอย ผู้เขียนขอ
เสนอเทคนิคและวิธีการลดค่าใช้จ่าย เพื่อเพิ่มเงินในกระเป๋า
หลายคนอาจจะไม่คาดคิดว่า ค่าใช้จ่ายในแต่ละวันในบาง
เรื่อง จะมีผลกระทบต่อเงินในกระเป๋าของมนุษย์เงินเดือน
(น้อย) มากมาย ลองมาดูกันว่าเราจะสามารถลดค่าใช้จ่ายและ
เพิ่มเงินในกระเป๋าได้อย่างไรบ้าง
• ลดการซื้อสินค้าแบรนด์เนม คงจะเป็นเรื่องยาก
ส�ำหรับคนที่ติดสินค้าแบรนด์เนม แต่เชื่อหรือไม่
สินค้าแบรนด์เนมที่ซื้อมาด้วยราคาแพง เป็นการ
ใช้สอยที่ไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป บางคนใช้สินค้านั้น
แค่ครั้งหรือสองครั้งแล้วก็เปลี่ยนไปซื้อยี่ห้อใหม่
หรือรุ่นที่ออกใหม่ ของเก่าจึงกลายเป็นของไร้ค่า
ซุกอยู่ที่ก้นตู้ถ้าลดการใช้จ่ายเรื่องนี้ได้ ก็จะพบว่า
มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น
• ประหยัดน�้ำ ประหยัดไฟ ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ทุกคน
สามารถท�ำได้ มีหลายวิธีในการประหยัดเพื่อใน
แต่ละเดือนจะมีเงินเหลือเพิ่มขึ้น ให้ทดลอง 1-2 เดือน
แล้วเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในเดือนก่อนนั้นว่า
มีความแตกต่างกันหรือไม่
• ลองเปรียบเทียบราคาสินค้าอุปโภค และบริโภค
ก่อนซื้อตรวจสอบจากเว็บไซต์ หรือจากประกาศ
โฆษณาต่างๆ ของห้าง ร้าน และจดรายการที่
จ�ำเป็นต้องซื้อและต้องใช้จริงๆ
• หักห้ามใจซื้อสินค้าที่ลดราคาในปริมาณที่มากเกิน
ความจ�ำเป็น ควรซื้อแค่พอดีใช้ เพราะปัจจุบันห้าง
ร้านต่างๆ มักจัดรายการลดราคาบ่อย
• วางแผนการเดินทางอย่างรอบคอบ เพื่อจะได้
ไม่เสียเวลาและประหยัดค่าน�้ำมัน
• ท�ำอาหารเองที่บ้าน นอกจากจะได้รับประทาน
อาหารที่สะอาด และรสชาติถูกปากแล้ว ยังเป็น
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว
ลดการออกไปรับประทานอาหารที่มีราคาแพง
นอกบ้านด้วย แต่อาจจะออกไปรับประทานข้าว
นอกบ้านบ้าง ตามโอกาสที่ส�ำคัญๆ เพื่อเปลี่ยน
บรรยากาศ
• ลดการบริโภคชา กาแฟ น�้ำอัดลม และน�้ำหวาน
เครื่องดื่มทั้งหลายที่บั่นทอนทั้งเงินในกระเป๋าและ
สุขภาพลองลดดู1- 2 เดือนก็จะพบว่าเรามีเงินเหลือ
เพิ่มขึ้นแถมได้ลดน�้ำตาลในเลือดอีกทางหนึ่งด้วย
บางคนติดกาแฟที่มียี่ห้อดังและราคาแพง ลองค�ำนวณ
คร่าวๆ ในกรณี ที่ดื่มกาแฟทุกวัน ถ้าราคากาแฟ
ต่อแก้วอยู่ที่ 40 บาท ภายในเวลา 30 วัน ก็จะคิด
เป็นเงิน1,200บาทต่อเดือนแล้วถ้าคูณด้วย12 เดือน
ก็จะเห็นตัวเลขการประหยัดชัดเจนมากยิ่งขึ้น
• การออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอเพื่อให้มีสุขภาพดี
จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้และ
มีร่างกายแข็งแรง พร้อมจะสู้กับงานในวันต่อไป
การออกก�ำลังกายไม่ จ�ำเป็ นต้ องไปสถานที่
ออกก�ำลังกายฟิตเนสที่ต้องเสียค่าใช้บริการเป็น
รายเดือน หรือรายปี เพราะทุกวันมีสวนสาธารณะ
หลายแห่งที่สะอาด และสะดวก อีกทั้งสามารถไป
ใช้บริการได้ฟรี ในสถานที่บางแห่งอาจต้องเสีย
ค่าบ�ำรุงไม่แพงมากเท่ากับสถานที่ออกก�ำลังกาย
ฟิตเนส หรืออาจจะเลือกวิธีออกก�ำลังกายที่ไม่ต้อง
ใช้อุปกรณ์เสริม เช่น เดิน วิ่ง และโยคะ เป็นต้น
$
$