Table of Contents Table of Contents
Previous Page  28 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 28 / 62 Next Page
Page Background

28

นิตยสาร สสวท

น้ำ�ทิพย์ จรรยาธรรม • นักวิชาการ ฝ่ายวิจัย สสวท. • e-mail:

nphan@ipst.ac.th

ปัจจุบันมีการน�ำเสนอข้อมูลในรูปแบบหนังสือ ผ่านจอคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

พกพาอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ทั้งวีดีทัศน์และแอนิเมชันโดยเรียกว่า e-book

electronics book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนา e-book เพื่อให้ผู้อ่านมีปฏิสัมพันธ์ด้วยการตอบโต้กับ

สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ใน e-book ได้ จึงเป็นการสื่อสารสองทาง โดยกระตุ้นให้ผู้อ่านมีความสนใจในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่าง

รวดเร็วและอิสระ ในทุกสถานที่ และทุกเวลา ทั้งยังสามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสาร

ที่ต้องการด้วยเครื่องพิมพ์ได้ด้วย

e-book จึงจัดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา

รูปแบบใหม่ที่ก�ำลังได้รับความสนใจจากนักการศึกษา

และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ที่ต้องน�ำ e-book

มาจัดการเรียนการสอนในสังคมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

วงการศึกษาในต่างประเทศก็ได้เห็นความส�ำคัญในการจัดท�ำ

e-book เพื่อประกอบการเรียนการสอนโดยอาศัยเครือข่าย

อินเทอร์เน็ตเป็นตัวช่วยด�ำเนินการ และจัดการให้เกิด

ระบบการเรียนรู้ เช่น คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยจีน

แห่งฮ่องกง ท�ำการวิจัยโดยน�ำ e–book มาใช้เป็นสื่อ

ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาภาควิชา

เภสัชศาสตร์และภาควิชากฎหมาย โดยแบ่งการวิจัยเป็น

2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้อาจารย์ที่สอนภาควิชาเภสัชศาสตร์

เป็นผู้จัดท�ำ e-book เองเพื่อใช้เป็นสื่อเสริมประกอบ

เนื้อหาเรื่อง 'Internal Medicine', 'Chinese Material and

Herbal Formulary' and 'Acupuncture' ดังผลการวิจัย

ของ Putney (2004) ที่พบว่าครูควรเป็นผู้จัดท�ำสื่อ e-book

เองเพื่อให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการใช้เทคโนโลยี และ

พบว่านักศึกษาเภสัชศาสตร์ ให้ความสนใจในการอ่าน

e-book ที่อาจารย์จัดท�ำเสริมจากในบทเรียนถึง 91%

ของจ�ำนวนนักเรียนในสังกัดภาควิชา กลุ่มที่สองโดย

อาจารย์ภาควิชากฎหมายใช้ e-book เป็นสื่อในการ

บรรยายตามหลักสูตร เรื่อง Principles of Land Law จ�ำนวน

12 บท พบว่านักศึกษาให้ความสนใจในการดาวน์โหลด

บทที่ 1 มากที่สุดเพื่อน�ำมาใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการ

ค้นคว้าหนังสือเสริมเล่มอื่นๆ ดังนั้นการน�ำ e–book มาใช้

เป็นสื่อในด้านการเรียนการสอนจึงควรมีลักษณะเป็น

สื่อประสมหรือมัลติมีเดียที่มีทั้งรูปภาพ เสียง วีดิทัศน์

แอนิเมชันตลอดจน learning object ต่างๆ ที่ช่วยเสริม

ความรู้ในส่วนต่างๆ ของแต่ละองค์ความรู้ ได้อย่างเหมาะสม

กับเนื้อหาและวัยของผู้เรียน ตลอดจนสามารถเชื่อมโยง

ไปยังแหล่งข้อมูลความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องได้ด้วย และถ้ามี

รูปแบบที่สามารถกระตุ้นความสนใจให้ผู้เรียนโดยเฉพาะ

จะท�ำให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเห็นเพิ่มขึ้น หรือมีกิจกรรม

ที่ท�ำให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ และอยากติดตามอย่างต่อ

เนื่องตั้งแต่ต้นจนจบก็สามารถท�ำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการ

เรียนรู้ของผู้เรียนเพิ่มขึ้นได้

e-book เพื่อการสอนวิชาวิทยาศาสตร์

รอบรู้

เทคโนโลยี