Table of Contents Table of Contents
Previous Page  34 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 34 / 62 Next Page
Page Background

34

นิตยสาร สสวท

บรรณานุกรม

กองทุนรวม. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559, จาก

http://www.start-to-invest.com/

กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559, จาก

http://www.thaipvd.com/

• เลือกใช้แพ็คเกจค่าโทรศัพท์/อินเทอร์เน็ตรายเดือน

ในราคาที่เหมาะสมส�ำหรับการใช้งาน บางคนเลือก

แพ็คเกจราคาสูง แต่ใช้น้อย ก็ไม่คุ้มค่า ปัจจุบัน

มี Wi-Fi ให้บริการในที่ท�ำงาน หรือตามที่สาธารณะ

ต่างๆ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

• หาวิธีสร้างรายได้เพิ่ม โดยน�ำความรู้ความช�ำนาญ

ที่มีไปสร้ างรายได้ เช่ น สอนพิเศษในวิชาที่

ตนเองถนัด ร้อยลูกปัด ท�ำขนมโฮมเมดเป็นต้น

ในขณะนี้ มีการหาตัวแทนในช่องทางการจ�ำหน่าย

สินค้าทางออนไลน์ที่หลากหลายและสามารถ

เข้าถึงง่ ายและสะดวก เช่น Facebook หรือ

Instagram เป็นต้น หรือถ้าจะน�ำสิ่งของที่ใช้แล้ว

แต่ยังมีสภาพดีไปขายตลาดนัดก็มีมากมาย

ยังมีอีกหลากหลายวิธีการในการลดค่าใช้จ่าย

และเพิ่มรายได้ หากผู้อ่านสามารถลดค่าใช้จ่ายในบางข้อได้

ก็จะท�ำให้มีเงินเหลือเพิ่มมากขึ้น และควรหาวิธีเพิ่มเงินที่มีให้

งอกเงยด้วยช่องทางต่างๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝากประจ�ำ

ดอกเบี้ยพิเศษแบบไม่ต้องเสียภาษี การลงทุนในกองทุนรวม

การลงทุนในหุ้น หรือการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์

เป็นต้น ซึ่งใช้เงินลงทุนไม่มากก็สามารถซื้อได้ ทุกคนคงมี

แนวทางในการบริหารจัดการเงินทองของตนเองอยู่แล้ว

เพียงแต่หาวิธีที่ที่เหมาะกับตนเองและสามารถรับความเสี่ยงได้

ทั้งนี้ ควรประเมินความเสี่ยงในการลงทุนแบบต่างๆ ส�ำหรับ

ตัวเราเองด้วย อย่างไรก็ตาม “สติ” และ “วินัย” คือตัวช่วย

ในการก�ำกับการใช้จ่ายเงิน หวังว่าผู้อ่านที่เป็นมนุษย์เงินเดือน

(น้อย) จะได้เกร็ดความรู้การใช้จ่ายเงินไปประยุกต์ใช้ในชีวิต

ประจ�ำวัน

หมายเหตุ

1.

เงินเฟ้อ (inflation)

หมายถึง ภาวะที่ระดับราคา

สินค้าและค่าบริการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องท�ำให้ความสามารถ

ในการซื้อสินค้าลดลง กล่าวคือจ�ำนวนเงินมูลค่าเท่าเดิม

แต่ซื้อสินค้าได้ปริมาณลดลง

2.

เงินฝืด (deflation)

หมายถึงภาวะที่ระดับ

ราคาสินค้าและค่าบริการโดยทั่วไปลดลงอย่างต่อเนื่อง

แต่ก็ขายไม่ได้ เพราะประขาขนไม่มีก�ำลังซื้อ

3.

กองทุนรวม (mutual fund)

หมายถึง การระดม

ทุนจากนักลงทุนรายย่อยให้เป็นเงินก้อนใหญ่แล้วจดทะเบียน

ให้มีสถานะเป็นนิติบุคคล แล้วน�ำเงินนั้นไปลงทุนในหลัก

ทรัพย์หรือสินทรัพย์ต่างๆ ตามนโยบายการลงทุนที่ได้ระบุ

ไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายแก่ผู้ลงทุน ข้อดีคือ มีนักบริหาร

มืออาชีพดูแล สามารถเลือกลงทุนได้มาก-น้อยตามต้องการ

มีสภาพคล่อง กระจายความเสี่ยงได้แทนที่จะเป็นการลงทุน

ในก้อนเดียว คือ มีหลากหลายกองทุนให้เลือก

4.

กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ (provident fund)

คือ

กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น เงินของกอง

ทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายมาให้ส่วนหนึ่งเรียก "เงินสะสม"

และนายจ้างจ่ายอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสมทบ" เพื่อน�ำเงิน

ไปบริหารให้เกิดดอกผล โดยผู้บริหารมืออาชีพที่เรียกว่า

"บริษัทจัดการ" โดยดอกผลที่เกิดขึ้นจะน�ำมาเฉลี่ยให้แก่

สมาชิกกองทุนทุกคน ตามสัดส่วนของเงินที่แต่ละคนมีอยู่

ในกองทุน สมาชิกกองทุนมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนเมื่อ

ความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง โดยจะได้รับส่วนของเงินสะสม

เต็มจ�ำนวนในทุกกรณี พร้อมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจาก

เงินสะสม ในส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

จากเงินสมทบนั้น สมาชิกจะได้รับตามเงื่อนไขที่ก�ำหนดไว้ใน

ข้อบังคับกองทุน

5.

หุ้น (stock)

เป็นตราสารที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือ

เพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ถือหุ้นจะมีฐานะเป็น

"เจ้าของกิจการ" ซึ่งจะมีส่วนได้ เสีย หรือมีสิทธิในทรัพย์สิน

และรายได้ของกิจการ และมีโอกาสได้รับก�ำไรจากส่วนต่าง

ราคา (capital gain) เมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นจากที่ซื้อครั้งแรก

รวมทั้งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล (dividend)

เมื่อบริษัทมีก�ำไร

6.

กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (property fund)

เป็น

การลงทุนในที่ดิน บ้าน หอพัก คอนโดมีเนียม เพื่อเก็งก�ำไร

และได้รับผลประโยชน์จากการให้เช่า หรือขาย ในรูปของ

เงินปันผล