Table of Contents Table of Contents
Previous Page  32 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 32 / 62 Next Page
Page Background

การเรียนกระตุ้น

ความคิด

วนิดา สิงห์น้อย • เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สสวท. • e-mail:

wsing@ipst.ac.th

32

นิตยสาร สสวท

เทคนิค

การใช้จ่ายเงิน

ให้เลิศ

แบบมนุษย์เงินเดือน

(น้อย)

สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันท�ำให้พนักงาน

ที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงทางเดียว ต้องระมัดระวัง

ในการจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากสินค้าที่ใช้ในการอุปโภค

บริโภคได้ปรับราคาสูงขึ้น แต่รายรับยังเท่าเดิม ประกอบ

ทั้งสภาวะเงินเฟ้อ

1

และ เงินฝืด

2

ในแต่ละช่วงของภาวะ

เศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อมูลค่าของเงิน ท�ำให้มนุษย์

เงินเดือนต้องหาวิธีใช้จ่ายเงินเดือนให้เกิดประโยชน์

คุ้มค่ามากที่สุด และต้องเฝ้าคอยจนกว่าจะถึงสิ้นปี

ซึ่งจะมีการปรับเงินเดือนและรับเงินโบนัสพิเศษเพิ่มเติม

คืออาจจะได้มาก ได้น้อย หรือไม่ได้เลย ก็ขึ้นกับผลการ

ประเมินงาน ที่พนักงานแต่ละคนได้ทุ่มเท อุทิศกาย

และใจให้แก่องค์กร และก�ำไรจากผลประกอบการ

ที่องค์กรจะจัดสรรให้แก่พนักงานที่สร้างผลงานให้โดนใจ

ผู้ประเมินนั้น เป็นความสามารถของแต่ละบุคคลในการ

สร้างสรรค์ผลงาน อันจะน�ำไปสู่การปรับขึ้นเงินเดือน

ที่เพิ่มมากขึ้น นั่นหมายถึงการมีรายรับเพิ่มขึ้น

จนสามารถน�ำไปจับจ่ายใช้สอยกับสิ่งที่ต้องการ แต่ละคน

คงมีวิธีการจัดการกับเงินเดือนของตนที่ได้ รับมา

ในแต่ละเดือนอยู่แล้ว มนุษย์เงินเดือน (น้อย) ถ้า

อยากได้หรืออยากมีในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งมีราคาแพงก็คง

ต้องใช้เทคนิคการเก็บออมเงินและการบริหารจัดการเงิน

แบบวิธีพิเศษ โดยมี “วินัย” เป็นตัวช่วยอีกแรงหนึ่ง ผู้เขียน

ขออนุญาตแบ่งปันข้อมูลประสบการณ์บางส่วนที่เป็นเรื่องที่

ใครๆ ก็ท�ำได้ถ้ามี “วินัย” ในตนเอง ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็เป็นเพียง

เทคนิคส่วนตัวหากผู้อ่านเห็นว่ามีประโยชน์และสามารถท�ำได้จริง

เห็นผลจริง ก็จะเป็นประโยชน์และจัดระเบียบการใช้จ่ายเงิน

เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งต่อตัวผู้อ่านเอง หากท�ำแล้วรู้สึกว่า

ตัวเองเป็นทุกข์ รู้สึกว่าไม่สะดวกสบาย ก็จงท่อง “วินัย”

ไว้ให้ถี่และขึ้นใจ แต่ถ้าพยายามจนสุดความสามารถแล้ว ยังไม่

สามารถท�ำได้ ก็คงต้องแล้วแต่ตัวใครตัวมัน มาดูว่ามีเทคนิค

อะไรบ้างในการบริหารจัดการเงินแบบมนุษย์เงินเดือน (น้อย)

เมื่อถึงวันที่เงินเดือนออก เราต้องพยายามจัดสรร

เงินให้เป็นหมวดหมู่ในการใช้จ่ายดังนี้

เงินออม

กันเงินไว้ส่วนหนึ่งตามที่เห็น

ว่าเหมาะสมอาจจะเป็น 10% ของเงิน

เดือน แล้วน�ำเงินจ�ำนวนนั้นไปฝาก

บัญชีประจ�ำที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชี

ออมทรัพย์ทั่วไปหรือจะน�ำไปเปิดบัญชี

กองทุนรวม

3

สามารถขอรายละเอียด