

12
นิตยสาร สสวท
ต่อมานักเรียนเทน�้ำมันพืชลงในขวดที่มีน�้ำสี สังเกต
สิ่งที่เกิดขึ้น จะพบว่า น�้ำกับน�้ำมันพืชจะแยกชั้น คือไม่รวมกัน
โดยมีน�้ำมันพืชอยู่ชั้นบน และน�้ำสีอยู่ชั้นล่าง ดังรูป
ต่อมานักเรียนจะได้มีโอกาสใช้เม็ดยาแก้ปวดในการ
ท�ำกิจกรรม และคาดคะเนว่าจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อใส่เม็ดยา
แก้ปวดลงในขวดที่มีน�้ำสี ตัวอย่างบทสนทนา อาจเป็นดังนี้
นักเรียนคนที่ 1: มันอาจจะระเบิดเหมือนภูเขาไฟ
นักเรียนคนที่ 2: มันมีฟองฟู่ๆ
วิทยากร:
ท�ำไมจึงคิดว่ามันมีฟองฟู่ๆ
นักเรียนคนที่ 2: เคยเห็นในรายการโทรทัศน์
วิทยากร:
เรามาลองท�ำดูว่า เหตุการณ์จะเป็นไปตาม
ที่คาดคะเนหรือไม่
เมื่อนักเรียนท�ำกิจกรรมเพื่อตรวจสอบการคาดคะเน
โดยใส่เม็ดยาแก้ปวดลงในขวดแล้วสังเกต จะพบว่าเม็ดยา
จะจมลงที่ก้นขวด และมีฟองแก๊สออกจากเม็ดยาอย่างต่อเนื่อง
ฟองแก๊สจะผสมกับน�้ำสีและลอยขึ้นจนถึงผิวหน้าของน�้ำมันพืช
และเมื่อส่วนผสมของฟองแก๊สกับน�้ำสีถึงผิวหน้าของชั้นน�้ำมันพืช
ฟองแก๊สจะแตก จากนั้นน�้ำสีที่เหลืออยู่รวมถึงแก๊สบางส่วน
จะค่อยๆ รวมตัวเป็นหยดน�้ำสีและค่อยๆ จมลงกลับไปที่ชั้นน�้ำสี
บริเวณด้านล่างของขวด ดังรูป
ในการท�ำกิจกรรมในแต่ละขั้น นักเรียนมีโอกาสได้
อภิปรายผลการท�ำกิจกรรม โดยวิทยากรจะชักชวนให้มีการ
อภิปรายด้วยการใช้ค�ำถามที่ส่งเสริมการคิด ตัวอย่างค�ำถาม
ที่เป็นไปได้มีดังต่อไปนี้
• น�้ำในขวดมีลักษณะอย่างไร
• น�้ำมีสีอะไร
• น�้ำมีรูปทรงอย่างไร
• เมื่อหยดสีลงในน�้ำ สังเกตเห็นอะไร
• เหตุใดน�้ำและน�้ำสีจึงรวมกันได้
• เมื่อเติมน�้ำมันลงในขวดที่มีน�้ำสี สังเกตเห็นอะไร
• รู้ได้อย่างไรว่า น�้ำมันพืชหรือน�้ำสีอยู่ชั้นบน
• เม็ดยาแก้ปวด มีลักษณะอย่างไร
• เหตุใดน�้ำสีกับน�้ำมันพืชจึงแยกชั้นกัน
• เพราะเหตุใด น�้ำมันพืชจึงอยู่ชั้นบน
