Table of Contents Table of Contents
Previous Page  13 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 13 / 62 Next Page
Page Background

13

ปีที่ 44 ฉบับที่ 202 กันยายน - ตุลาคม 2559

ค�ำถามและค�ำอธิบาย

ทางวิทยาศาสตร์

1. เพราะเหตุใดน�้ำมันพืชจึงไม่ละลายในน�้ำ แต่กลับลอย

อยู่เหนือน�้ำ

ของเหลวสองชนิด จะละลายในกันและกันได้

ของเหลวทั้งคู่ต้องเป็นสารที่โมเลกุลมีขั้วเหมือนกัน ส่วนน�้ำมันพืช

เป็นสารที่โมเลกุลไม่มีขั้วแต่น�้ำเป็นสารที่โมเลกุลมีขั้ว

ดังนั้นเมื่อน�ำน�้ำมันพืชมาผสมกับน�้ำ น�้ำมันพืชจึงไม่ละลาย

ในน�้ำ

ของเหลวสองชนิดที่ไม่ละลายในกันและกัน เมื่อ

อยู่ในภาชนะเดียวกัน ของเหลวที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า

จะลอยอยู่ชั้นบน ส่วนของเหลวที่มีความหนาแน่นมากกว่า

จะจมอยู่ชั้นล่าง เมื่อน�ำน�้ำมันพืชมาผสมน�้ำ น�้ำมันพืชจะลอย

อยู่เหนือน�้ำ เพราะน�้ำมันพืชมีความหนาแน่นน้อยกว่าน�้ำ

2. เมื่อใส่เม็ดยาแก้ปวดลงไปในขวดที่มีน�้ำสีและน�้ำมันพืช

เม็ดยาจมลงที่ก้นภาชนะ เพราะเหตุใด

เมื่อใส่เม็ดยาแก้ปวดลงในขวด เม็ดยาจะจมลงที่

ก้นภาชนะ เพราะเม็ดยามีความหนาแน่นมากกว่าน�้ำมันพืช

และน�้ำสี

3. ฟองแก๊สที่ลอยออกจากเม็ดยา เกิดขึ้นได้อย่างไร และ

เป็นแก๊สชนิดใด

ฟองแก๊สที่เกิดขึ้นรอบๆ เม็ดยา เกิดจากการที่

เม็ดยาละลายน�้ำ ท�ำให้โซเดียมไบคาร์บอเนตและกรดซิตริก

ซึ่งเป็นสารองค์ประกอบในเม็ดยานั้นท�ำปฏิกิริยากัน และ

ผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ได้คือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

4. เมื่อใส่เม็ดยาแก้ปวดลงในขวดที่มีน�้ำสีและน�้ำมันพืช

แล้วมีฟองแก๊สเกิดขึ้น เพราะเหตุใดน�้ำสีจึงลอยขึ้นจนถึง

ผิวหน้าของน�้ำมันพืช จากนั้นจะค่อยๆ จมลงจนถึงชั้นน�้ำสี

การที่หยดน�้ำสีบางส่วนลอยขึ้นจนถึงผิวหน้าของ

น�้ำมันพืช เพราะฟองแก๊สที่เกิดขึ้นบางส่วนจะผสมกับน�้ำสี

ท�ำให้ฟองแก๊สและน�้ำสีที่ผสมกันมีความหนาแน่น น้อยกว่า

น�้ำสีในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้เพราะปริมาตรของสารผสม

ระหว่างฟองแก๊สกับน�้ำสีจะเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปริมาตรน�้ำสี

ที่ไม่มีฟองแก๊สผสมอยู่ และมวลของสารผสมระหว่างฟองแก๊ส

กับน�้ำสีเพิ่มขึ้นด้วย แต่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยกว่าการเพิ่มขึ้น

ของปริมาตร ดังนั้นอัตราส่วนระหว่างมวลกับปริมาตรของ

สารผสมระหว่างฟองแก๊สกับน�้ำสีจึงมีค่าลดลง ความหนาแน่น

ของสารผสมมีค่าน้อยกว่าน�้ำสีในบริเวณใกล้เคียงนั่นเอง

สารผสมระหว่ างฟองแก๊ สกับน�้ำสีนั้นจึงลอยขึ้นจนถึง

ผิวด้านบนของชั้นน�้ำสี ถ้าความหนาแน่นของน�้ำสีและ

ฟองแก๊สที่รวมตัวกันมีความหนาแน่นน้อยกว่าน�้ำมันพืช

ก็จะลอยขึ้นจนถึงผิวบนของชั้นน�้ำมันพืช ในขณะเดียวกัน

การที่โมเลกุลของน�้ำดึงดูดกันเองได้ดี จะท�ำให้หยดของเหลว

มีลักษณะเป็นทรงกลมลอยขึ้น ขณะที่หยดน�้ำสีและฟองแก๊ส

ที่จับตัวกันลอยขึ้นจนถึงผิวหน้าของชั้นน�้ำมันพืช ฟองแก๊ส

บางส่วนจะแตก ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปสู่อากาศ

หยดน�้ำสีและฟองแก๊สที่เหลืออยู่จึงมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น

และถ้าความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้นมีค่ามากกว่าความหนาแน่น

ของน�้ำมันพืช หยดน�้ำสีและฟองแก๊สจะจมลงไปรวมกับน�้ำสี

ในชั้นน�้ำสี อย่างไรก็ตาม การจมหรือการลอยของวัตถุ

ในของเหลวยังเกี่ยวข้องกับแรงด้วย

ที่มา

https://i.ytimg.com/vi/ZUCkCrZdWE4/maxresdefault.jpg