Table of Contents Table of Contents
Previous Page  15 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 15 / 62 Next Page
Page Background

15

ปีที่ 44 ฉบับที่ 202 กันยายน - ตุลาคม 2559

การ

ผสม

สี

ในมุมมองด้านวิทยาศาสตร์

และความคิดสร้างสรรค์

(ตอนที่ 1)

รอบรู้

วิทย์

ดร.นพรัตน์ ศรีเจริญ • นักวิชาการ สาขาพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

และส่งเสริมการผลิตครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สสวท. • e-mail:

nsric@ipst.ac.th

ดร.ประวีณา ติระ • ผู้ช�ำนาญ ฝ่ายวิจัยและประเมินมาตรฐาน สสวท. • e-mail:

ptira@ipst.ac.th

ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2559 (National Science and Technology

Fair Thailand, 2016) ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการผสมสี ในหัวเรื่อง

“สีกับความคิดสร้างสรรค์”

ซึ่งเป็นหนึ่ง

ในกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์จะให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการสังเกต การมีความคิดสร้างสรรค์ การท�ำงานอย่าง

เป็นขั้นตอน ซึ่งจะเปิดโลกอาชีพให้แก่นักเรียน ครูหรือผู้ปกครองสามารถน�ำกิจกรรมนี้ไปปรับใช้ให้สอดคล้อง

กับระดับความรู้ และความสามารถของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนากระบวนการและทักษะดังกล่าว

“ความรู้เรื่องสี และการผสมสีมีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ และศาสตร์สาขาอื่นๆ อย่างไร”

ชีวิตประจ�ำวันของทุกคนมีการน�ำความรู้เรื่องสีมาใช้ในกรณีต่างๆ เช่น การเลือกใช้สีที่เหมาะสมเพื่อลดระดับ

การใช้พลังงาน หรือเพิ่มบรรยากาศของห้อง การเลือกใช้สีให้เหมาะในการท�ำงานที่ต่างรูปแบบกัน เช่น สี

ที่เหมาะส�ำหรับการใช้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ สีในการพิมพ์ สีในการวาดภาพของจิตรกร และสเปกตรัม

ของสีในฟิสิกส์ นอกจากนี้สีก็มีบทบาทในด้านจิตวิทยา และการแพทย์ด้วย เช่น การเลือกใช้สีของเม็ดยา

ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อยาของคนไข้ และความรู้สึกของคนไข้ต่อฤทธิ์ยา อีกทั้งมีความเกี่ยวข้องกับอาชีพ

ทางวิทยาศาสตร์ด้วย มหาวิทยาลัยหลายแห่งในต่างประเทศมีการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาเกี่ยวกับ

Color Science หรือ Color Engineering ที่ต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับสีในกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์

และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาอัลกอริทึมและอุปกรณ์ในการสร้างสีเพื่อสนับสนุนการใช้งาน

ในระบบ Hi-Fi เป็นต้น