

20
นิตยสาร สสวท
%
ความลาด
ความยาว
ความสูง
รูปที่ 2
ป้ายจราจร ประเภทป้ายเตือน
ทางลาดชัน
ที่มา
กรมการขนส่งทางบก
การเห็นป้าย “ทางขึ้นลาดชัน” (steep climb) แสดงว่าทางข้างหน้า
มีความลาดชันขึ้น จึงอาจเป็นทางขึ้นเขา ขึ้นเนิน เป็นสันเขา หรือสันเนิน
โดยมีความลาดชันตามตัวเลขที่ก�ำหนดเป็น “ร้อยละ” ตามที่ระบุในป้าย
ซึ่งอาจบดบังสายตาท�ำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นรถที่สวนมาได้ ยกตัวอย่าง
เช่น ข้างหน้าเป็นทางลาดชันขึ้นเขา และมีเลข 8% ก�ำกับไว้ หมายถึง ระยะทาง
ของเนินนี้หากมีความยาวในแนวราบเท่ากับ 100 เมตร
จุดหมายปลายทางของการเดินทางจะอยู่สูงกว่าความสูง
เดิม 8 เมตร (หรือเท่ากับ 8 หาร 100 คูณ 100 เท่ากับ
8%) ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นกรณีทางลงเขา และปรากฏ
เลข 8% ก็ให้คิดในลักษณะเดียวกัน เพียงเปลี่ยนจาก
ระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น เป็นระดับความสูงที่ลดลงจากเดิม
หากเป็นทางลาดชันมีเลขก�ำกับคือ 10% และ 15% ทางนั้น
ก็จะมีความชันที่มากขึ้น กรณีสะพานพระราม 9 มีเลขก�ำกับ
คือ 5% แสดงว่า เมื่อระยะทางในแนวราบเปลี่ยนไป 1 เมตร
ระยะทางในแนวดิ่งจะเปลี่ยนแปลง 5 เซนติเมตร (เนื่องจาก
สะพานนี้มีทั้งการเพิ่มและและลดลงของความชัน)
ในการบอกความลาดมักใช้อัตราส่วนระหว่าง D
คือระยะทางตามความสูงของเส้นระดับ (vertical height) กับ
L คือ ระยะห่างระหว่างเส้นระดับในผัง (horizontal length) และ
G คือความลาด (gradient) ซึ่งค�ำนวณได้จาก G = (D/L) x 100
และมีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)
การแสดงค่าความชันในลักษณะสุดท้ายที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นค่าที่บอกความชัน
ที่อาจจะยากต่อการเข้าใจของหลายคน เพราะไม่แสดงความชันให้เห็นโดยการสังเกต
ความชันดังกล่าวคือ “ความชันของความกดอากาศ” ซึ่งเป็นตัวแปรหนึ่งทางอุตุนิยมวิทยา
ที่สามารถวัดได้และใช้ในการวิเคราะห์เส้นความกดอากาศเท่า (isobar) ในแผนที่อากาศ
เพื่อแสดงความดันอากาศในแต่ละบริเวณ เช่น หย่อมความกดอากาศต�่ำ (low pressure cell)
บริเวณความกดอากาศสูง (high pressure area) รวมถึงพายุหมุนเขตร้อน และแนวปะทะ
อากาศ (front) ในประเทศไทยการวิเคราะห์เส้นความกดอากาศเท่าจะมีระยะห่างระหว่าง
เส้นเท่ากับ 2 hPa (hectopascal หน่วยของความกดอากาศ) ซึ่งบางครั้งเส้นอาจจะอยู่ใกล้
กันมากโดยเฉพาะในฤดูหนาว ส่วนในฤดูร้อนเส้นความกดอากาศเท่าจะอยู่ห่างกันมาก
L
A
G