Table of Contents Table of Contents
Previous Page  25 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 25 / 62 Next Page
Page Background

25

ปีที่ 44 ฉบับที่ 202 กันยายน - ตุลาคม 2559

กิจกรรมที่ 3

กิจกรรมที่ 4

รูปนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนที่ทวีปยุโรป ซึ่งแสดง

อาณาบริเวณของประเทศ 9 ประเทศ หลังจากผู้เข้าร่วม

กิจกรรมได้ร่วมกันอภิปรายเรื่องจ�ำนวนสีที่น้อยที่สุดเพื่อใช้

ระบายให้ตรงตามเงื่อนไขที่ก�ำหนด และได้ลองระบายสีแล้ว

ก็ได้ข้อสรุปว่า รูปนี้จ�ำเป็นต้องใช้สีน้อยที่สุดจ�ำนวน 4 สี

ดังตัวอย่างการระบายสีในรูปที่ 7 เพราะถ้าสังเกตให้ดี

จะพบว่ารูปนี้มีลักษณะเดียวกับรูปที่ 5 โดยพื้นที่ของประเทศ

ออสเตรียสามารถเทียบได้กับรูปวงกลมเล็กในรูปที่ 5

ถ้าแผนที่ในรูปที่ 7 ถูกวาดบนแผ่นยางที่สามารถ

ยืดและหดได้ จะสามารถท�ำให้ได้รูปเดียวกันกับรูปที่ 5

ซึ่งความสัมพันธ์ ระหว่ างรูปทั้งสองในลักษณะดังกล่ าว

เรียกว่า สมานสัณฐาน (homeomorphism) หรือรูปทั้งสองนี้

homeomorphic กัน

วิทยากรได้ข้อสรุปว่า ในการระบายสีรูปทั้งสาม

เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ก�ำหนด สามารถใช้สีเพียง 4 สี

ก็เพียงพอแล้ว ส�ำหรับในกิจกรรมที่ 1 อาจใช้สีน้อยกว่า 4 สี

จากการสังเกตจ�ำนวนสีที่ใช้ในการระบายสีภายใต้เงื่อนไข

ที่ก�ำหนด สามารถน�ำไปสู่ทฤษฎีบททางคณิตศาสตร์ที่เป็น

ที่รู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบทสี่สี ที่แถลงว่า “ถ้าต้องการระบาย

สีบริเวณที่อยู่ติดกันในระนาบใดๆ เพื่อให้สอดคล้องเงื่อนไข

ที่ว่า บริเวณสองส่วนที่อยู่ติดกันต้องมีสีต่างกัน จ�ำเป็นต้อง

ใช้สีเพียง 4 สีก็เพียงพอ”

ทฤษฎีบทนี้มีปรากฏตั้งแต่ พ.ศ. 2395 แต่ยังไม่มี

ผู้ใดสามารถพิสูจน์ได้ จนปี พ.ศ. 2519 ได้มีนักคณิตศาสตร์

ชื่อ Kenneth Appel และ Wolfgang Haken ก็สามารถพิสูจน์

ทฤษฎีบทนี้โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

รูปที่ 7

รูปที่ 8

รูปที่ 6