Table of Contents Table of Contents
Previous Page  21 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 21 / 62 Next Page
Page Background

21

ปีที่ 44 ฉบับที่ 202 กันยายน - ตุลาคม 2559

บรรณานุกรม

ป้ายจราจร ประเภทป้ายเดือน. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559, จาก

https://www.dlt.go.th/.

แผนที่อากาศ. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559, จาก

http://www.tmd.go.th/weather_map.php.

มวลอากาศ. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559, จาก

http://image.slidesharecdn.com/map-121008225205-phpapp02/95/map-48-728.jpg ?cb=1349737987.

รูปที่ 3

ภาพแสดงมวลอากาศ

ที่มา

http://image.slidesharecdn.com/map-121008225205-phpapp02/95/ map-48-728.jpg?cb=1349737987

มวลอากาศ (air mass)

คือ

บริเวณที่อากาศมีสมบัติคล้ายคลึงกัน

ปกคลุมอยู่เหนือบริเวณใดๆ ท�ำให้เกิด

ลักษณะลมฟ้าอากาศเป็นหย่อมความกด

อากาศต�่ำที่ปกคลุมประเทศไทยในช่วง

ฤดูร้ อน อากาศในช่ วงเวลานั้นจะมี

อุณหภูมิอากาศร้อนจัด มีโอกาสเกิดพายุ

ฤดูร้อน หากเป็นบริเวณความกดอากาศ

สูงในฤดูหนาว ท�ำให้อากาศบริเวณที่

ปกคลุมมีอุณหภูมิลดลง อากาศจึงแห้ง

ตัวอย่างแผนที่อากาศของวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ขณะเวลา 07.00 น. (รูปที่ 3) แสดงเส้น

ความกดอากาศเท่าในแผนที่อากาศซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นโค้ง และในกรณีสมบัติของอากาศโดยทั่วไป อุณหภูมิจะมี

ความสัมพันธ์กับความกดอากาศ กล่าวคือ อากาศที่มีอุณหภูมิสูงจะขยายตัวท�ำให้ความหนาแน่นของอากาศลดลง

จึงลอยตัวสูงขึ้น ส่งให้ความกดอากาศต�่ำ ส่วนบริเวณที่มีอุณหภูมิต�่ำอากาศจะจมลงสู่เบื้องล่าง ท�ำให้ความหนาแน่น

ของอากาศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดความกดอากาศสูง หากพิจารณาเปรียบเทียบกับเส้นความสูงของภูเขา (รูปที่ 3)

โดยความกดอากาศต�่ำเปรียบเสมือนบริเวณที่มีระดับความสูงไม่มาก ดังนั้น ถ้าปล่อยวัตถุจากที่สูง วัตถุจะเคลื่อนที่

ลงมายังพื้นที่ต�่ำกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน คือ อากาศในบริเวณที่มีความกดอากาศ

สูงกว่า (มีความชันมากกว่า) จะเคลื่อนที่ไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต�่ำกว่า (ความชันน้อยกว่า) เสมอ ความชัน

ของความกดอากาศนี้ใช้หลักการค�ำนวณเดียวกันกับการหาความชันทางคณิตศาสตร์ดังที่กล่าวมาแล้ว โดยให้แกน

Y เป็นความกดอากาศ และแกน X เป็นระยะทาง โดยอาศัยความรู้เรื่อง “อนุพันธ์ของฟังก์ชัน” ในวิชาแคลคูลัส

เบื้องต้น (หนังสือรายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 6 มัธยมศึกษาปีที่ 4-6) ซึ่งแสดงการหาความชันของเส้นสัมผัส

เส้นโค้งได้ ดังความสัมพันธ์ต่อไปนี้

เนื่องจากความแตกต่างของความกดอากาศตามระยะทางแสดงทิศการเคลื่อนที่ของอากาศ ดังนั้น

ความชันจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า เกรเดียนท์ (gradient) และเรียกความชันที่เกิดจากความกด

อากาศที่แตกต่างกันนี้ว่า ความชันของความกดอากาศ (pressure gradient) มักใช้สัญลักษณ์

P

ซึ่งถ้ากล่าวถึง

การเคลื่อนที่เราย่อมหมายถึงว่ามีแรงมากระท�ำกับวัตถุ ในวิชาอุตุนิยมวิทยาก็เช่นกัน แรงที่ส่งผลต่อการเคลื่อนก็คือ

แรงที่เกิดจากความชันของความกดอากาศ (pressure gradient force) ซึ่งแสดงได้ดังความสัมพันธ์

dP

dX

1

ρ

F = —

บริเวณใดที่มีความแตกต่างของความกดอากาศมากจะสังเกตเห็นได้จากเส้นความกดอากาศเท่าที่อยู่ไกลกันมาก

จะมีอัตราเร็วลมมากกว่าบริเวณที่มีความแตกต่างของความกดอากาศน้อยกว่า ดังนั้นในฤดูหนาวลมจะพัดแรงกว่า

ในฤดูร้อน (ยกเว้นในช่วงเวลาที่เกิดฝนฟ้าคะนองซึ่งจะมีลมพัดในบริเวณนั้นรุนแรงกว่าปกติ)

แม้ความชันของความกดอากาศจะไม่สามารถวัดความชันจริงโดยใช้เครื่องมือเหมือนการวัดความชันของ

ภูเขา อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อหาความสัมพันธ์ในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม หรือ

ศาสตร์อื่น ๆ บางครั้งอาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน แต่การแปลความหมายหรือการน�ำไปใช้ล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน

(P

2

– P

1

)

(X

2

– X

1

)

dP

dX

=