Previous Page  37 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 37 / 62 Next Page
Page Background

อย่างเป็นระบบ (systems thinking) ซึ่งโดยรวมแล้วจะเป็นการ

รวมแนวคิดของเทคโนโลยีโดยทั่วไปกับการออกแบบทางวิศวกรรม

เข้าด้วยกัน ในขณะที่การศึกษาด้านวิศวกรรมนั้นจะปรากฏใน

ระดับมหาวิทยาลัยมากกว่า ส่วนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก็

มีอยู่บ้างโดยอาจใช้ชื่อเรียกต่างกันไปและขึ้นอยู่กับความพร้อม

ของแต่ละสถานศึกษาแต่ไม่ได้เป็นมาตรฐานหรือกรอบหลักสูตร

ที่ชัดเจน จะถูกรวมไว้ในวิชาเทคโนโลยีศึกษามากกว่า และ

ปรากฏบ้างในบางโครงการพิเศษ เช่น Engineering By Design

(EDb), Innovation invention and inquiry (I

3

) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็น

ส่วนหนึ่งของโครงการ Project Lead the Way หรือบางแห่ง

อาจใช้โปรแกรมที่เรียกว่า Engineering is Elementary (EiE)

การศึกษาเทคโนโลยีในประเทศไทย

ความหมายเทคโนโลยี ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2551 โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี สาขาออกแบบและเทคโนโลยี

เทคโนโลยี หมายถึง

การน�

ำความรู้ ทักษะ และทรัพยากร มาสร้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือ

วิธีการโดยผ่านกระบวนการเพื่อแก้ปัญหา สนองความต้องการ

หรือเพิ่มความสามารถในการท�

ำงานของมนุษย์

อย่างไรก็ตาม

ในหลักสูตรจะเรียกว่าสาระการออกแบบและเทคโนโลยี ซึ่งถูก

รวมไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ผนวก

กับบริบทของประเทศไทย และแนวคิดของค�

ำว่าการออกแบบ

ตามแนวทางของอังกฤษ และแนวคิดด้านเทคโนโลยีศึกษาของ

อเมริกา จึงท�

ำให้แนวกิจกรรมการเรียนรู้มีส่วนที่แตกต่างจาก

technology education ในอเมริกาอยู่บ้าง

วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี (Design and Technology)

มีเป้าหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ

เทคโนโลยีเพื่อด�

ำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง

รวดเร็ว ใช้กระบวนการเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความ

ต้องการโดยออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์หรือวิธีการอย่างมี

ความคิดสร้างสรรค์ มีการบูรณาการกับศาสตร์อื่นอย่างเหมาะ

สม เห็นคุณค่าและเลือกใช้เทคโนโลยีโดยค�

ำนึงถึงผลกระทบต่อ

ชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยรวมแนวคิดของเทคโนโลยีและ

วิศกรรมเข้าด้วยกันเพื่อการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาหรือสนองความ

ต้องการของมนุษย์ด้วยการสร้างสรรค์ผลงาน นวัตกรรม รวม

ถึงระบบหรือวิธีการ ทั้งนี้ยังเป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้มองเห็นถึง

ความเชื่อมโยงของการเรียนรู้กับชิวิตจริงและยังน�

ำไปสู่การมอง

เห็นแนวทางการประกอบอาชีพในอนาคต

วิชาการออกแบบและเทคโนโลยียังมุ่งเน้นการปฏิบัติด้วย

ผ่านกระบวนการเทคโนโลยี (technological process) ซึ่ง

เป็นกระบวนการของการวางแผนการท�

ำงานอย่างเป็นขั้นตอน

หรืออาจเทียบได้กับกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม โดย

กระบวนการเทคโนโลยีนี้จะเป็นไปในลักษณะของวงจรการ

ท�

ำงาน (interactive cycle) โดยแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้

กระบวนการเทคโนโลยี

โดยสรุปแล้วเทคโนโลยีและวิศวกรรมโดยความหมายทั่วไป

อาจมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง กล่าวคือ วิศวกรรมจะมุ่งเน้นที่

กระบวนการท�

ำงานหรือแก้ปัญหา ในขณะที่เทคโนโลยีจะเป็น

ผลจากการพัฒนาปรับปรุงของวิศวกรรม อย่างไรก็ตามในการ

จัดการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นจะไม่ได้แยก

กันอย่างชัดเจน จะผนวกเอาแนวคิดของทั้งสองศาสตร์เข้าด้วย

กันโดยการบูรณาการกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ

วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งรวมเรียกว่า STEM หรืออาจ

จะผนวกกับศิลปะกลายเป็น STEAM โดยทั้งหมดนี้มีเป้าหมาย

เพื่อการเสริมสร้างทักษะส�

ำคัญของโลกในศตวรรษที่ 21 นั่นเอง

6. ปรับปรุงแก้ไข

7. ประเมินผล

5. ทดสอบ

4. ออกแบบและปฏิบัติการ

3. เลือกวิธีการ

2. รวบรวมข้อมูล

1. ก�

ำหนดปัญหาหรือความต้องการ

บรรณานุกรม

International Technology and Engineering Educators Association. (2001).

Standard for Technology literacy. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2556,

จาก

http://www.iteea.org/TAA/PDFs/xstnd.pdf

Sneider, Cary. (2012). Core Ideas of Engineering and Technology:

Understanding A Framework for K-12 Science Education.

สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2556, จาก

http://www2.research.uky.edu/pimser/

p12mso/pub/LEAPS%202011-12/Administrator%20Sessions/Core%20

Ideas%20of%20Engineering%20and%20Technology.pdf

ส�

ำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. ส�

ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลาง

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ปีที่ 42

|

ฉบับที่ 185

|

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556

37