

ตัวอย่างกิจกรรม STEM
หลายคนคงมีโอกาสได้เห็นที่ใส่ข้าวเหนียว หรือเรียกภาษา
ทั่วไปว่า
กระติบข้าว
หรือ
กระติ๊บข้าว
ชาวบ้านใช้เป็นภาชนะ
บรรจุข้าวเหนียว ซึ่งท�
ำมาจากไม้ไผ่มาผ่าซีกเล็กแล้วเหลาเป็น
แผ่นบาง ๆ ซึ่งเบาและระบายอากาศได้ดี ท�
ำให้ไม่แฉะ พกพา
ได้ง่าย และที่ส�
ำคัญยังเก็บความร้อนไว้ท�
ำให้ข้าวยังมีความร้อน
อยู่ได้นาน หลังจากนั้นจึงน�
ำมาจักสานเป็นภาชนะ ส่วนใหญ่
ใช้บรรจุข้าวเหนียว เดิมก็เป็นเพียงภูมิปัญญาชาวบ้าน ต่อมา
มีการพัฒนาใส่ความรู้และเทคโนโลยีเข้าไป มีทั้งงานวิจัยเพื่อ
ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการเปลี่ยนวัสดุจากไม้ไผ่เป็นวัสดุ
อื่นบ้างเช่น กก
กิจกรรมนี้ได้รวมองค์ความรู้และกระบวนการเทคโนโลยีเข้า
ด้วยกันได้ในระดับหนึ่งสรุปย่อ ๆ ได้ดังนี้
1. เกิดสถานการณ์เทคโนโลยีที่จะต้องแก้ปัญหาที่จะเก็บ
ความร้อนจากข้าวเหนียวไว้ให้นาน ออกแบบและสร้างชิ้นงาน
ที่แก้ปัญหานี้ให้ได้ตามกระบวนการเทคโนโลยี 7 ขั้นตอน (ซึ่ง
รวมหลักการทางวิศวกรรมด้วยแล้ว) ตั้งแต่ขั้นที่ 1 ก�
ำหนดความ
ต้องการที่จะได้กระติบข้าวเหนียวที่เก็บความร้อนไว้ได้นาน ขั้นที่
2 รวบรวมข้อมูล ทั้งเรื่องวัสดุ ประเภทและคุณสมบัติ โครงสร้าง
ลักษณะของข้าวที่จะเก็บ ภาชนะอื่น ๆ ที่เคยท�
ำกันมาก่อนแล้ว
เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยแต่ละแบบ ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการใด หรือ
วัสดุใด หรือลายของกระติบเป็นแบบใด ขั้นที่ 4 ออกแบบและ
สร้าง กระติบตามที่เราเลือกวิธีการไว้ว่ามีลักษณะใด รูปทรงและ
ขนาดแล้วจึงร่างภาพ หรือถ้าขั้นสูงอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
มาช่วยในการร่างภาพแล้วจึงน�
ำแบบมาสร้าง เมื่อสร้างเสร็จจึง
น�
ำมาสู่ขั้นที่ 5 ทดสอบว่าเก็บความร้อนได้นานตามที่ต้องการ
หรือไม่ รูปทรงพอเหมาะต่อการใช้งานหรือไม่ วัสดุที่ใช้ต้อง
เสริมอะไรเพื่อให้เก็บความร้อนได้ดีกว่าเดิมหรือไม่ ถ้ายังก็ไป
ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไขจนเป็นที่พอใจ จึงมาขั้นที่ 7 ประเมิน
ผลว่าได้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการหรือไม่
2. ในระหว่างขั้นตอน
ของกระบวนการ ในขั้นก่อน
ออกแบบและลงมือท�
ำมีการ
ใช้ความรู้ทั้งวิทยาศาสตร์และ
คณิตศาสตร์ เช่น ร่างแบบก่อน
การสร้าง จะต้องทราบว่าควร
มีขนาดเท่าไหร่ รูปทรงควร
เป็นรูปใด (คณิตศาสตร์) รวม
ถึงจะได้ลายของเครื่องจักสาน
เช่น กระติบข้าว (ใช้โปรแกรม
Geometer’s Sketchpad หรือ GSP ในการออกแบบ) ซึ่งลาย
ของกระติบข้าวเหนียวสามารถส่งผลถึงการเก็บความร้อนของ
ข้าวเหนียวหรือให้มีการถ่ายโอนความร้อนของข้าวเหนียวที่
พอเหมาะ (วิทยาศาสตร์) รวมถึงวัสดุที่ใช้ควรเป็นไม้ไผ่พันธุ์
ใด (วิทยาศาสตร์)
3. โครงสร้างของกระติบจะมีขนาดเท่าใดจึงพอเหมาะตั้ง
อยู่ได้ไม่ล้ม (วิศวกรรม) ใช้วัสดุหรือการจัดการแบบใดจึงจะคุ้ม
ค่า ประหยัด เหมาะสมกับการตลาดและสวยงาม (เทคโนโลยี)
4. การด�
ำเนินกิจกรรมระหว่างที่ผู้เรียนก�
ำลังหาวิธีแก้ปัญหา
ในขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนที่จะได้ผลงานออกมาจะมีการประเมิน
งานผู้เรียนโดยผู้สอนด้วย เนื่องจากการจัดการเรียนรู้แบบนี้จะ
เน้นที่กระบวนการมากกว่าผลงาน
5. ผลงานของผู้เรียนแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่ต้อง
มาน�
ำเสนอแนวคิดให้ผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้ทราบ ซึ่งถือว่าเป็น
ส่วนหนึ่งของงานนี้ที่จะต้องสื่อสารแนวคิดให้ผู้อื่นรับทราบด้วย
การน�
ำ STEM มาใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ นอกจากจะ
เกี่ยวข้องกับการด�
ำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพแล้ว ในอนาคต
เราคาดหวังว่าจะรวมไปถึงการก�
ำหนดทรัพยากร (resource)
ข้อจ�
ำกัด (constraint หรือ limitation) ราคา (cost) รวมถึง
ความปลอดภัย (safety) ด้วย
นิตยสาร สสวท.
34