

เรื่องเด่นประจำ
�ฉบับ
กิจกรรม รถไฟเหาะ
รักษพล ธนานุวงศ์
นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนต้น สสวท. / e-mail:
rthan@ipst.ac.thในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยจะมีการด�
ำเนินการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางรางครั้งใหญ่ และจะต้องการ
ก�
ำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในด้านที่เกี่ยวข้องเป็นจ�
ำนวน
มาก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับรถไฟ ระบบรางรถไฟ
และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ให้กับนักเรียน นอกจากจะเป็นการ
เชื่อมโยงหลักการทางวิทยาศาสตร์เข้ากับสถานการณ์ในชีวิต
จริงแล้ว ยังจะสามารถช่วยจุดประกายให้นักเรียนได้เกิดความ
สนใจที่จะค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับรถไฟ ระบบรางรถไฟ
และอาจเลือกเรียนหรือประกอบอาชีพเกี่ยวกับการคมนาคม
ขนส่งทางราง ซึ่งจะเป็นอาชีพที่ต้องการมากในอนาคตอีกด้วย
กิจกรรม “รถไฟเหาะ” เป็นกิจกรรมส�
ำหรับนักเรียนระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น ที่ให้นักเรียนได้น�
ำความรู้ความเข้าใจเกี่ยว
กับ พลังงานกล กฎอนุรักษ์พลังงานและแรงเสียดทาน มา
บูรณาการร่วมกับความรู้และทักษะแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
และทางเทคโนโลยี เพื่อการออกแบบและสร้างรางรถไฟเหาะ
จ�
ำลอง ภายใต้เงื่อนไขและสถานการณ์ที่ก�
ำหนด ซึ่งเป็นแนวทาง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เรียกว่า
“แนวทางการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา”
ภาพที่ 1 แผนภาพการใช้แนวทางสะเต็มศึกษาในการท�
ำกิจกรรมรถไฟเหาะ
กิจกรรม “รถไฟเหาะ” ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้มีการน�
ำไป
ทดลองจัดให้กับนักวิชาการของ สสวท. ได้ลองปฏิบัติมาแล้ว
1 ครั้ง และได้มีการปรับแก้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
แนวทางการจัดการเรียนรู้กิจกรรม “รถไฟเหาะ” ตาม
แนวทางสะเต็มศึกษามีเนื้อหาโดยย่อ ดังต่อไปนี้
สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
ประเทศไทยกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการ
ขนส่งทางราง
ในระยะเวลา 5 ปี เริ่มจากปี พ.ศ. 2557 ประเทศไทยจะ
มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางครั้งใหญ่ ทั้งการสร้าง
รางรถไฟคู่ รางรถไฟฟ้า และรางของรถไฟความเร็วสูง รวม
ระยะทางกว่า 2,000 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยให้ประเทศมีระบบ
การคมนาคมการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงพื้นที่ส�
ำคัญ
ทั่วประเทศ ช่วยกระจายความเจริญ กระจายรายได้ให้กับพื้นที่
ต่าง ๆ ลดความเหลื่อมล�้
ำทางเศรษฐกิจและสังคม ลดการใช้
พลังงาน ลดอุบัติเหตุทางถนน และลดมลพิษ อีกทั้งเป็นการ
เปิดเส้นทางในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ส�
ำหรับการ
ก้าวมาเป็นผู้น�
ำของประชาคมอาเซียน (ASEAN) ได้เป็นอย่างดี
การท่องเที่ยวของประเทศไทยและนวัตกรรมส่งเสริมการ
ท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นภาคส่วนที่ท�
ำรายได้ให้กับ
คนไทยและประเทศไทยเป็นจ�
ำนวนมากต่อปี การเดินทางมา
ท่องเที่ยวในประเทศไทยของคนต่างชาติมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
อีกมากในอนาคต แนวทางหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถใน
การแข่งขันด้านการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าประเทศไทยมาก
ยิ่งขึ้นคือการสร้างสรรค์ “นวัตกรรม” ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งการ
ออกแบบและพัฒนาล้วนต้องอาศัยความรู้ทางสะเต็ม ดังนั้นการ
ได้ฝึกฝนการน�
ำความรู้ความเข้าใจด้านสะเต็ม มาบูรณาการกับ
ศิลปวัฒนธรรมไทย จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยเชื่อมโยงสิ่ง
ที่ได้เรียนรู้กับการท�
ำงานและอาชีพในชีวิตจริงด้านการท่องเที่ยว
รถไฟเหาะ
รถไฟเหาะ หรือ roller coaster เป็นเครื่องเล่นที่มีอยู่ในสวน
สนุก สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินกับผู้เล่นด้วยการให้รถไฟ
ที่ผู้เล่นนั่งวิ่งไปตามรางที่มีความชัน ความโค้ง หมุนเป็นเกลียว
หรือแม้กระทั่งหมุนเป็นวงในแนวตั้ง รถไฟเหาะในประเทศไทย
ล้วนเป็นรถไฟเหาะที่ใช้ความรู้และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
บูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการคมนาคมขนส่งทางราง
สแกนโค้ดนี้เพื่อชม
ภาพเคลื่อนไหว
นิตยสาร สสวท.
38