Previous Page  39 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 39 / 62 Next Page
Page Background

ภาพที่ 2 รถไฟเหาะที่สวนสยาม (ซ้ายมือ) และรถไฟเหาะที่สวนสนุก Dream

World (ขวามือ) (ที่มา:

http://www.siamparkcity.com/park_x-zone_vortex.

php และ

http://www.dreamworld.co.th)

รถไฟเหาะที่มีการออกแบบให้มีลักษณะที่แตกต่างจากรถไฟ

เหาะที่มีอยู่ทั่วไป ถือว่าเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่าง

ยิ่งถ้าเป็นการสร้างรถไฟเหาะแบบไทยที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็น

สิ่งแปลกใหม่ที่น่าสนใจ และถ้าหากมีการสร้างขึ้นจริงสามารถ

เป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกแบบหนึ่ง การให้

นักเรียนได้ลองออกแบบรถไฟเหาะจะส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยว

กับหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวิ่งของรถไฟ

เหาะที่ส�

ำคัญ นั่นคือเรื่องของพลังงานจลน์ พลังงานศักย์ กฎ

การอนุรักษ์พลังงาน และแรงเสียดทาน ซึ่งเป็นหัวข้อในเนื้อหา

วิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

เรียนรู้ความหมายของ งาน พลังงาน และ กฎอนุรักษ์

พลังงาน (1 ชั่วโมง 30 นาที)

ก่อนที่นักเรียนจะได้ออกแบบและสร้างรางรถไฟเหาะ

นักเรียนต้องได้เรียนรู้หลักการพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่

เกี่ยวข้องนั่นคือเรื่องพลังงานกล และ กฎอนุรักษ์พลังงาน ซึ่ง

ครูอาจตั้งค�

ำถามที่สร้างความสนใจให้กับนักเรียนจากสิ่งที่ใกล้

ตัวเพื่อน�

ำไปสู่การอภิปรายร่วมกันถึงสิ่งที่ท�

ำให้รถไฟเหาะวิ่งได้

เช่น ค�

ำถามว่า “ท�

ำไมรถยนต์จึงวิ่งได้” หรือ “ท�

ำไมรถไฟจึงวิ่ง

ได้” ซึ่งในท้ายที่สุดครูและนักเรียนควรได้ข้อสรุปว่า รถทุกชนิด

จะวิ่งได้จะต้องอาศัย “พลังงาน” (energy)

ภาพที่ 3 การปล่อยรถของเล่นบนพื้นเอียง

จากนั้นครูพยายามเชื่อมโยงถึงพลังงานศักย์ โดยน�

ำนักเรียน

อภิปรายเกี่ยวกับการปล่อยให้รถไหลลงมาตามทางลาด เพื่อให้

ได้ข้อสรุปว่าพลังงานที่เกี่ยวข้องกับต�

ำแหน่ง และเป็นพลังงานที่

สะสมอยู่ในวัตถุ ในทางวิทยาศาสตร์ให้ชื่อเรียกว่า “พลังงานศักย์”

(potential energy) ต่อมาให้ครูตั้งประเด็นค�

ำถามเพิ่มเติมเพื่อ

น�

ำไปสู่การเรียนรู้เรื่อง “พลังงานจลน์” โดยอาจใช้ค�

ำถามว่า “ถ้า

ครูปล่อยรถให้ไหลลงจากที่สูงต่างกัน รถที่วิ่งลงมาที่พื้นในแนว

ระดับจะวิ่งได้ไกลใกล้ต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใด” หรือค�

ำถาม

“เมื่อรถวิ่งลงมาจากที่สูง พลังงานศักย์ที่รถใช้วิ่งหายไปไหน”

เมื่อนักเรียนได้รู้จักกับความหมายของค�

ำว่า “พลังงานศักย์”

และ “พลังงานจลน์” แล้ว ให้ครูเชื่อมโยงไปถึงการท�

ำความเข้าใจ

เกี่ยวกับความหมายของค�

ำว่า “พลังงาน” ในเชิงวิทยาศาสตร์

ก่อนจะให้ความรู้เพิ่มเติมกับนักเรียนว่า พลังงานจลน์กับพลังงาน

ศักย์นี้รวมกันเรียกว่า

พลังงานกล (mechanical energy)

ซึ่ง

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าพลังงานกลมีธรรมชาติที่ส�

ำคัญคือ

พลังงานกลไม่สามารถถูกสร้างขึ้นมาใหม่หรือท�

ำให้สูญหายไป

ได้ แต่สามารถถูกถ่ายโอนไปเป็นพลังงานที่มีลักษณะปรากฏ

เป็นพลังงานชนิดอื่นได้ เช่น พลังงานความร้อน พลังงานแสง

พลังงานไฟฟ้า ธรรมชาติที่ส�

ำคัญของพลังงานดังกล่าวนี้

นักวิทยาศาสตร์ได้เรียกว่า “กฎอนุรักษ์พลังงาน”

หลังจากนักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทางวิทยาศาสตร์

ของพลังงานและกฎการอนุรักษ์พลังงานแล้ว ในช่วงต่อไปจะ

เป็นการให้นักเรียนได้ออกแบบและสร้างรางรถไฟเหาะจ�

ำลอง ซึ่ง

ครูอาจบอกให้นักเรียนทราบล่วงหน้า ก่อนการเรียนในครั้งต่อไป

ออกแบบและสร้างรางรถไฟเหาะ (3 ชั่วโมง)

ก่อนเริ่มการท�

ำกิจกรรม ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ

4 - 5 คน และให้แต่ละกลุ่มตั้งชื่อของกลุ่ม จากนั้นครูอธิบายให้

นักเรียนทราบว่ากิจกรรม “รถไฟเหาะ” เป็นกิจกรรมที่นักเรียน

จะได้น�

ำความรู้ที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานกลและกฎการอนุรักษ์

พลังงานมาใช้ในการออกแบบและสร้างรางรถไฟเหาะจ�

ำลอง

โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะการน�

ำความรู้

ไปประยุกต์แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง การพัฒนาทักษะ

การคิดด้านต่าง ๆ ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิด

สร้างสรรค์ การพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร และการท�

ำงาน

ร่วมกันกับผู้อื่น

ปีที่ 42

|

ฉบับที่ 185

|

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556

39