Previous Page  41 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 41 / 62 Next Page
Page Background

• ในการท�

ำให้รถไฟหยุดที่สถานีปลายราง จะออกแบบ

อย่างไรโดยไม่ต้องใช้วัสดุส�

ำหรับเพิ่มแรงเสียดทาน

จากค�

ำถาม ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อ

สรุป ซึ่งตัวอย่างของสาระส�

ำคัญที่สามารถสรุปได้จากการท�

กิจกรรมคือ

• เมื่อรถไฟมีน�้

ำหนักมากขึ้น การเลี้ยวโค้งต้องใช้ความเร็ว

น้อยกว่ารถไฟที่มีน�้

ำหนักน้อย ไม่เช่นนั้นรถไฟอาจตกราง

• การออกแบบให้รางรถไฟในส่วนที่มีการเลี้ยวโค้ง ให้มี

การเอียงของราง รถไฟจะสามารถเลี้ยวโค้งได้โดยไม่ต้องชะลอ

ความเร็วมากนัก

• การออกแบบรางรถไฟที่บริเวณสถานี ซึ่งเป็นบริเวณที่

รถไฟต้องหยุดเพื่อรับส่งผู้โดยสาร ผู้ออกแบบสามารถประหยัด

การใช้วัสดุในการช่วยหยุด (เบรก) และประหยัดพลังงานที่ใช้ใน

การหยุดได้ ด้วยการยกรางให้สูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งท�

ำให้พลังงานจลน์

ของรถที่วิ่งเข้ามาจอดเปลี่ยนเป็นพลังงานศักย์ส่วนหนึ่ง ส่งผล

ให้รถชะลอความเร็วลงโดยไม่ต้องใช้การเบรก

ภาพที่ 5 แสดงการออกแบบรางรถไฟฟ้าบีทีเอส

ที่สถานีให้มีระดับสูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อช่วยชะลอความเร็วขณะเข้าจอด

ครูอาจให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่ใช้ในการออกแบบและสร้างรางรถไฟในปัจจุบัน รวมถึง

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนและ

การท�

ำงานส่วนต่าง ๆ ของรถไฟโดยสาร เพื่อเป็นการกระตุ้น

ความอยากรู้อยากเห็นและสร้างความน่าสนใจให้ทั้งกับการเรียน

วิทยาศาสตร์และการคมนาคมขนส่งระบบราง

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการแสดงการเชื่อมโยงให้เห็นถึง

การน�

ำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในการศึกษาต่อและการประกอบ

อาชีพ ครูอาจน�

ำเสนอสถาบันที่เปิดการสอนหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

หรืออาจติดต่อวิศวกรจากการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือวิศวกร

ของรถไฟฟ้าบีทีเอส ให้มาเป็นทูตสะเต็ม (STEMambassador)

บอกเล่าประสบการณ์และตอบข้อซักถามต่าง ๆ เกี่ยวกับการ

ท�

ำงาน เส้นทางของอาชีพ (career path) สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

เมื่อต้องการศึกษาต่อ ฯลฯ

ภาพที่ 6 สถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางราง (ซ้ายมือ)

และทูตสะเต็ม ส�

ำหรับกิจกรรม “รถไฟเหาะ” (ที่มา:

http://www.bts.co.th)

บทส่งท้าย

การเรียนรู้จากการท�

ำกิจกรรมตามแนวทางสะเต็ม เป็นการ

ท�

ำให้นักเรียนได้น�

ำสิ่งที่ได้เรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

และเทคโนโลยีมาบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาที่มีบริบทเชื่อมโยง

กับชีวิตจริง แตกต่างจากการเรียนด้วยการฟังบรรยาย การ

ฝึกฝนท�

ำข้อสอบ หรือการท�

ำกิจกรรมสืบเสาะหาความรู้ทาง

วิทยาศาสตร์ที่มุ่งสร้างองค์ความรู้ การได้เรียนรู้ที่นักเรียนได้

คิดวิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติ ได้มีการน�

ำความรู้และทักษะทาง

วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี มาออกแบบและ

สร้างชิ้นงานภายใต้สถานการณ์ที่ก�

ำหนด ได้เรียนรู้จากการท�

ผิดพลาด ได้มีการอภิปราย ซักถาม โต้แย้งกันระหว่างสมาชิก

ในกลุ่ม เป็นการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ

หลักการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

(Pellegrino, 2012) ได้เกิดความสนใจเนื้อหาวิชาทางด้านสะเต็ม

มากยิ่งขึ้น (Schnittka, 2009) (Schnittka et al. 2010) ได้ฝึก

การน�

ำความรู้ที่ค่อนข้างเป็นนามธรรมมาใช้แก้ปัญหา ฝึกการให้

เกียรติแนวคิดของผู้อื่นที่แตกต่างจากของตนเอง ฝึกทักษะการ

สื่อสาร และทักษะด้านการคิดขั้นสูง ซึ่งล้วนเป็นทักษะส�

ำคัญใน

การศึกษาต่อและประกอบอาชีพในโลกศตวรรษที่ 21

บรรณานุกรม

Pellegrino, James W. & Hilton, Margaret L. (2012).

Education for Life and Work: Developing Transferable Knowledge and Skills in the 21st Century.

New York:

National Academy Press.

Schnittka, C. G. (2009). Engineering design activities and conceptual change in middle school science. PhD diss., University of Virginia.

Schnittka, C. G., Evans, M. A., Jones, B. & Brandt, C. (2010). Studio STEM: Networked engineering projects in energy for middle school girls and boys.

Proceedings of the American Society of Engineering Education, Louisville, Kentucky. Retrieved April 2, 2013, from

http://soa.asee.org/paper/conference/

paper-view.cfm?id=23015

ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ. ส�

ำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). Tourism Hub โอกาสทองของไทย. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2556, จาก

http://www.nic.go.th/gsic/uploadfile/

Tourism-Hub.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กระทรวงศึกษาธิการ. (2555).

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

ส�

ำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2556). สร้างอนาคตประเทศไทย ก้าวไกลด้วยรถไฟความเร็วสูง. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2256, จาก

http://www.thaihispeedtrain.com/

ปีที่ 42

|

ฉบับที่ 185

|

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556

41