

ปีที่ 43 ฉบับที่ 192 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2558
9
รักษพล ธนานุวงศ์
นักวิชาการ สาขาฟิสิกส์ สสวท. / e-mail :
rthan@ipst.ac.thต้อนรับปีแห่งแสง พ.ศ. 2558 กับกิจกรรมสืบเสาะหาความรู้เรื่อง
แสงเลเซอร์ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจ�
ำวัน
ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการใช้แสงเลเซอร์ในการสแกนบาร์โค้ดใน
ร้านสะดวกซื้อ การใช้แสงเลเซอร์อ่านแผ่นดีวีดีเพื่อชม
ภาพยนตร์ การใช้แสงเลเซอร์ในการพิมพ์เอกสารเพื่อให้
ได้ภาพและตัวอักษรที่คมชัด หรือ การใช้แสงเลเซอร์
ส�
ำหรับการรักษาผิวหนังหรือสายตาที่ผิดปกติ
ในขณะที่แสงเลเซอร์มีบทบาทกับการด�
ำเนินชีวิตของ
ทุกคน กิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมัธยมศึกษาเกี่ยวกับ
แสงเลเซอร์ยังมีไม่มากนัก ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากการท�
ำ
ความเข้าใจหลักการท�
ำงานของเลเซอร์ต้องมีพื้นฐาน
ความรู้เกี่ยวกับฟิสิกส์ของแสงและองค์ประกอบพื้นฐาน
ของสสารในระดับหนึ่ง หรือ อีกสาเหตุที่เป็นไปได้คือ แสง
เลเซอร์มีอันตราย การน�
ำมาใช้ต้องมีความระมัดระวัง จึง
ไม่นิยมน�
ำมาเป็นสื่อการเรียนการสอนในชั้นเรียน
(ที่มา:
http://www.light2015.org/)แสงเลเซอร์ (1)
ในที่นี้ หลังจากได้มีการท�
ำการศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับแสงเลเซอร์ ทั้งในด้านความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์
และด้านความปลอดภัยจากเอกสารของต่างประเทศ และจากการได้ทดลองน�
ำมาปฏิบัติ จึงขอน�
ำเสนอกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
หาความรู้ (inquiry) เกี่ยวกับแสงเลเซอร์ส�
ำหรับผู้เรียนในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายโดยนอกจากจะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ
แสงเลเซอร์ให้กับผู้เรียนที่สนใจแล้ว ยังเป็นการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น
เนื่องในวาระที่องค์การสหประชาชาติ หรือ
UN (United Nations)
ได้ประกาศให้ปี ค.ศ. 2015 เป็นปีแห่งแสง
(International
Year of Light and Light-Based Technology)
ซึ่งจุดประสงค์หลักของการประกาศครั้งนี้ คือ การรณรงค์ให้ประชาคมโลก
ตระหนักถึงความส�
ำคัญของการน�
ำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับแสงมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ (ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์
http://www.light2015.org/)