Previous Page  11 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 11 / 62 Next Page
Page Background

คุณผู้อ่านที่ไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องดาราศาสตร์ เคยสงสัยกันไหมว่านักดาราศาสตร์รู้ ได้อย่างไรว่าโลกของเรา

มีขนาดเท่าไร ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกเท่าไร หรือแม้กระทั่งสามารถบอกได้ด้วยว่าดวงดาวที่อยู่ไกลแสนไกล

มองเห็นเป็นเพียงจุดสว่างนั้นอยู่ห่างจากโลกของเราเท่าไร พวกเขาใช้อะไรวัด (ที่แน่ ๆ คงไม่ได้ใช้ไม้เมตร หรือ

สายวัด) และพวกเราอีกหลาย ๆ คนก็คงเคยสับสนกับค�

ำว่า “ปีแสง” ว่าตกลงมันคือความเร็ว อัตราเร็ว หรือ

ระยะทาง หรืออะไรกันแน่ และมีค่าเท่าไร? แม้จะฟังดูเป็นค�

ำถามง่าย ๆ แต่ก็คงต้องใช้เวลาคิดหาค�

ำตอบอยู่เหมือนกัน

1. ปัญหาในการใช้หน่วยกิโลเมตร

สุภัคสรณ์ รุ่งศรี

ผู้ช�

ำนาญ สาขาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ สสวท. / e-mail:

srung@ipst.ac.th

ภาพ 1 ดาว “พร็อกซิมา เซนทอรี” (Proxima Centauri) ภาพจาก

NASA/ ESA

(ที่มา:

http://www.space.com/23475-proxima-centauri-

hubble-telescope-photo.html)

ระยะทางที่

แสนไกล

จะวัดได้อย่างไร

หน่วยกิโลเมตร (kilometer ตัวย่อ km) หรือในบางประเทศ

นิยมใช้หน่วยไมล์ (mile ตัวย่อ mi) เป็นหน่วยที่ใช้วัดระยะทาง

ไกล ๆ เช่น ระหว่างประเทศ เมือง หรือสถานที่ต่าง ๆ และยัง

เป็นหน่วยที่ใช้วัดระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ซึ่งมี

ค่าประมาณ 150,000,000 กิโลเมตร (หนึ่งร้อยห้าสิบล้าน

กิโลเมตร) ได้ด้วย แต่ดวงดาวอื่น ๆ ที่อยู่ไกลออกไปจากโลก

มากกว่าดวงอาทิตย์การใช้หน่วยกิโลเมตรเพื่อบอกระยะทาง

ระหว่างโลกกับดวงดาวต่าง ๆ นั้นแม้ว่าจะใช้ได้แต่ก็ไม่เหมาะสม

ตัวอย่างเช่น ดาว “พร็อกซิมา เซนทอรี” (Proxima Centauri)

ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะของเรามากที่สุด อยู่ห่างจาก

โลก 41,512,200,000,000 กิโลเมตร จะเห็นได้ว่าต้องเขียน

ตัวเลขยาวเหยียดหากเราใช้หน่วยกิโลเมตร ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหา

นี้ นักวิทยาศาสตร์จึงน�

ำหน่วย “ปีแสง” มาใช้ในการบอกระยะ

ทางที่อยู่ไกลมาก ๆ แทน แล้วปีแสงคืออะไร?

11

ปีที่ 43 ฉบับที่ 194 พฤษภาคม - มิถุนายน 2558