

7
ปีที่ 44 ฉบับที่ 200 พฤษภาคม - มิถุนายน 2559
น�้ำ
เป็นทรัพยากรธรรมชาติ
ที่เกิดขึ้นอย่างหมุนเวียนในธรรมชาติ
เป็นของไหลที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต�่ำเสมอ
ส่วนลมเป็นอากาศที่เคลื่อนที่รอบตัวเรา
เมื่อน�้ำและลมปะทะวัตถุใดๆ จะท�ำให้
วัตถุนั้นเคลื่อนที่หรือหมุน
ชีวมวล
(Biomass) เป็น
สารอินทรีย์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการ
ย่อยสลายตามธรรมชาติ มีองค์ประกอบ
พื้นฐานเป็ นธาตุคาร์ บอนและธาตุ
ไฮโดรเจน ซึ่งธาตุดังกล่าวได้มาจาก
กระบวนการด�ำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
แล้วสะสมไว้ ถึงแม้จะถูกย่อยสลายแล้ว
แต่ก็ยังคงอยู่ ชีวมวลจึงสามารถน�ำไปใช้
เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน (Renewable
energy) ได้ทั้งในรูปของเชื้อเพลิงที่ให้
ความร้อนโดยตรง และเปลี่ยนไปเป็น
พลังงานไฟฟ้า
ดวงอาทิตย์
เป็นแหล่ง
ก�ำเนิดพลังงานปริมาณมหาศาล
ซึ่งเกิดจากการปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน
ที่บริเวณใจกลางของดวงอาทิตย์
แล้วส่งพลังงานผ่านอวกาศมายังโลก
ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ส�ำคัญ
ที่ใช้ ในการด�ำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
ทุกชนิดบนโลก
พลังงานนิวเคลียร์
เป็นพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติรอบ
ตัวเรา ในดิน หิน พืชและสัตว์ล้วน
มีองค์ประกอบที่ให้ก�ำเนิดรังสีจาก
พลังงานนิวเคลียร์ที่ถูกส่งผ่านไปยัง
สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมบนพื้นผิวโลก
พลังงานแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ทั้ง
ที่มาและกระบวนการเกิด ปัจจัยที่ส�ำคัญหนึ่งปัจจัยได้แก่ ธาตุ
ต่างๆ ที่ถือก�ำเนิดในจักรวาล เริ่มตั้งแต่ H, He, C, N, O,…
รวมทั้งธาตุอื่นๆ ล้วนเป็นธาตุส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดปฏิกิริยา
นิวเคลียร์แบบฟิวชัน ที่ให้พลังงานปริมาณมหาศาล และถูก
ส่งผ่านอวกาศในรูปของรังสีต่างๆ มายังโลก ในขณะที่โลก
เป็นดาวเคราะห์ที่ถือก�ำเนิดมาจากการรวมตัวของกลุ่มแก๊ส
กับธาตุต่างๆ เป็น แร่ หิน ดินในโลก ธาตุที่มีสถานะเป็นแก๊ส
จะอยู่รวมกันในชั้นบรรยากาศของโลก และธาตุต่างๆ บนโลก
ท�ำหน้าที่เป็นปัจจัยส�ำคัญในการด�ำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก
สิ่งมีชีวิตทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งพืช และสัตว์
ล้วนมีกระบวนการด�ำรงชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยแร่ธาตุ และ
สารประกอบต่างๆ ในโลก เพื่อให้ชีวิตมีการเจริญเติบโต
แพร่พันธุ์ และด�ำรงอยู่ในช่วงวงจรชีวิตของแต่ละชนิด เช่น
พืชต้องการแสงอาทิตย์ แก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ และน�้ำ
ในการสังเคราะห์อาหารด้ วยแสงเพื่อการเจริญเติบโต
มนุษย์ต้องการอาหารเพื่อเป็นแหล่งพลังงานในร่างกาย
ให้สามารถด�ำเนินกิจกรรมการด�ำรงชีวิตได้ สิ่งมีชีวิตจึงมี
การสะสมแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะธาตุคาร์บอนที่มีในพืช หรือ
ร่างกายมนุษย์และสัตว์ เมื่อสิ่งมีชีวิตตาย เนื้อเยื่อจะสลายตัว
และถูกฝังสะสมอยู่ใต้ผิวโลกเป็นเวลานาน จึงยังท�ำให้ธาตุ
คาร์บอนที่มีสะสมอยู่ใต้พื้นผิวโลกกลายเป็นแหล่งพลังงาน
ชนิดเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ต่อไป
ที่มา:
http://smartgrowth.org/wp-content/uploads/2016/03/ green-energy-set_2166495c.jpgการทับถมของสารอินทรีย์
น�้ำมันดิน
ก๊าซ
ถ่านหิน