

12
นิตยสาร สสวท
รอบรู้
วิทย์
ดร.นันทวัน สมสุข • ผู้ช�ำนาญ ฝ่ายวิจัย สสวท. • e-mail:
nnant@ipst.ac.thคลื่นความร้อน...ภั
ยร้อนแสนอั
นตราย
“คลื่นความร้อนทำ�พิษ สเปน-โปรตุเกส ระอุ ไฟป่ากระหน่ำ� วอด!”
“ตายไม่หยุด เหยื่อคลื่นความร้อนปากีสถานพุ่ง 1,242 ราย”
“อากาศยุโรปสาหัส คลื่นความร้อนแผ่ปกคลุมถึงอังกฤษ”
“คลื่นความร้อนแผ่ปกคลุมจีน-ญี่ปุ่น ผู้คนล้มป่วยระนาว”
“ภัยแล้งและคลื่นความร้อน ทำ�อาหารโลกหาย 10%”
ที่มา:
http://www.thairath.co.th/content/591904ผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้อ่าน
ข่ าวในหนังสือพิมพ์ที่พาดหัวข่ าวอย่าง
น่าตระหนกเกี่ยวกับการเกิดคลื่นความร้อน
ในช่วงฤดูร้อนของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ซึ่งนับวันจะดูเหมือนว่าภัยจากคลื่นความร้อน
จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น จนท�ำให้เกิด
ความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของคน
และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์
รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย เมื่ออ่านถึงตอนนี้
หลายท่านคงก�ำลังมีค�ำถามมากมายว่า
สรุปแล้วคลื่นความร้อนคืออะไร มีความ
แตกต่ างจากอากาศร้ อนปกติอย่ างไร
เกิดขึ้นได้ อย่ างไร มีโอกาสเกิดขึ้นใน
ประเทศไทยได้หรือไม่ จะสร้างความรุนแรง
และส่งผลกระทบอะไรบ้าง แล้วเราต้องเตรียม
รับมือกับปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างไร
วันนี้เรามาหาค�ำตอบจากบทความนี้กัน
คลื่นความร้ อน
หรือ
ฮีตเวฟ (Heat Wave )
เป็ น
ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ที่อากาศมีปริมาณความร้อนมากกว่า
ปกติอย่างรวดเร็วในระยะเวลาหนึ่ง และอุณหภูมิที่เพิ่มสูงนี้ อาจเกิด
ยาวนานเป็นเวลาไม่กี่วันหรือนานหลายสัปดาห์ ตามปกติการให้
นิยามค�ำว่า “คลื่นความร้อน” ไม่สามารถระบุอุณหภูมิที่แน่นอนได้ว่า
อุณหภูมิเท่าใดจึงจะเรียกว่าเป็นคลื่นความร้อน เนื่องจากแต่ละพื้นที่
มีอุณหภูมิของอากาศแตกต่างกัน และลักษณะของคลื่นความร้อน
จะขึ้นกับลักษณะอากาศปกติของพื้นที่นั้น โดยอุณหภูมิของอากาศ
ในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศร้อนปกติ อาจเป็นคลื่นความร้อนส�ำหรับพื้นที่
ที่มีอุณหภูมิปกติค่อนข้างต�่ำก็ได้ อย่างไรก็ตาม องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
(World Meteorological Organization: WMO) ได้ก�ำหนดนิยามของ
คลื่นความร้อน ว่าหมายถึง
ภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดประจ�ำวันเกินค่า
อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็น
เวลาอย่างน้อย 5 วัน
ยกตัวอย่างการเกิดคลื่นความร้อนตามนิยาม
ของ WMO เช่น พื้นที่ A มีอุณหภูมิอากาศปกติที่ประมาณ 18-25˚C
เมื่อมีการเคลื่อนที่ของมวลอากาศร้อนเข้ามาในพื้นที่ ท�ำให้พื้นที่
ดังกล่าวมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 30-35˚C อย่างฉับพลัน ภายในเวลา
24 ชั่วโมง และอุณหภูมิสูงจะคงค่านี้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ เราจึงเรียกว่า
พื้นที่ดังกล่าวเกิดปรากฏการณ์คลื่นความร้อน