Table of Contents Table of Contents
Previous Page  16 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 16 / 62 Next Page
Page Background

16

นิตยสาร สสวท

ส�ำหรับแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงภัย

คลื่นความร้อนก็อาจท�ำได้โดยพยายามอยู่ในที่ร่มที่มีอากาศ

ถ่ายเทได้สะดวก หลีกเลี่ยงการออกก�ำลังกายหรือท�ำกิจกรรม

ที่ใช้ก�ำลังมากกลางแดดที่ร้อนจัด ดื่มน�้ำอย่างสม�่ำเสมอ

ไม่ปล่อยให้ร่างกายขาดน�้ำ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ

สวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ เพื่อให้ร่างกายระบายเหงื่อได้ดี

หากมีอาการ

โรคตะคริวแดด

(Heat cramp) ซึ่งแสดงอาการ

ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่บริเวณหน้าท้องและขา อุณหภูมิ

ร่างกายจะเปลี่ยน เหงื่อจะออกมาก ร่างกายจะกระหายน�้ำ

และหัวใจเต้นเร็ว ควรบรรเทาอาการโดยรีบเข้าที่ร่ม และดื่มน�้ำ

และเกลือแร่ หรือหากเป็น

โรคเพลียแดด

(Heat exhaustion)

ซึ่งมีอาการ อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด

ความดันต�่ำ และอุณหภูมิของร่างกายอาจเพิ่มสูงได้ ถ้าผู้ป่วย

มีอาการไม่รุนแรง ควรปฐมพยาบาลโดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในที่

เย็นสบาย ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ให้ดื่มน�้ำและเกลือแร่ แต่ใน

กรณีคนไข้ที่มีอาการรุนแรงต้องน�ำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

ในกรณีเกิด

โรคลมแดด

(Heat stroke) ซึ่งเป็นภาวะ

ผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางที่ไม่สามารถควบคุม

อุณหภูมิร่างกายได้ ท�ำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นกว่า 40˚C

ผู้ป่วยจะต้องหยุดท�ำกิจกรรมต่างๆ ทันที และควรรีบน�ำตัวส่ง

โรงพยาบาลโดยด่วน เนื่องจากอาการอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต

โรคลมแดดมีอาการเบื้องต้นคล้ายกับโรคเพลียแดด แต่อาจมี

อาการรุนแรงเพิ่มเติม เช่น ไม่มีเหงื่อออก หัวใจเต้นผิด

จังหวะ หายใจเร็ว เพ้อ ชัก ไตล้มเหลว มีการตายของเซลล์ตับ

รวมถึงมีการบวมของปอดจากการคั่งของของเหลว ช็อค

หมดสติ และเกิดการล้มเหลวในการท�ำงานของอวัยวะต่างๆ

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้นสามารถท�ำได้โดยรีบน�ำ

ผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้างเพื่อให้

เลือดหมุนเวียนไปเลี้ยงสมองได้ และใช้ผ้าชุบน�้ำเช็ดตามตัว

โดยเฉพาะตามข้อพับต่างๆ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่า เพื่อช่วย

ระบายความร้อนออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด

บรรณานุกรม

National Oceanic and Atmospheric Administration.

Heat wave: A major summer killer

. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2559,

จาก

http://www.nws.noaa.gov/os/heat/ww.shtml.

ส�ำนักเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค.

คลื่นความร้อน

. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2559,

จาก

http://old.ddc.moph.go.th/advice/showimgpic.php?id=374.

สุดท้ายนี้ ท่านผู้อ่านคงได้ค�ำตอบที่ครอบคลุมทุก

ประเด็นที่เกี่ยวกับคลื่นความร้อนแล้วนะคะ แม้ประเทศไทย

ยังไม่มีรายงานการเกิดคลื่นความร้อน แต่ก็เป็นไปได้ว่าวัน

หนึ่งในบ้านเมืองเราอาจเกิดปรากฏการณ์นี้ได้ หรือท่านผู้อ่าน

อาจต้องเดินทางไปยังประเทศที่มักประสบภัยคลื่นความร้อน

ดังนั้น การมีความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้จึงเป็นประโยชน์ใน

การป้องกันภัยจากคลื่นความร้อนที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเองได้

และผู้อ่านยังสามารถให้การปฐมพยาบาลหรือช่วยเหลือเบื้องต้น

แก่ผู้อื่นที่ประสบภัยจากคลื่นความร้อนได้อย่างเหมาะสม

อีกด้วย อย่างไรก็ดี ขอให้ผู้อ่านทุกท่านห่างไกลจากภัยของ

คลื่นความร้อน

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้นในกรณีเกิดโรคลมแดด (Heat stroke)

ที่มา:

http://www2.atvcourse.com/newmexico/study?chapter=6&page=20

อาการโรคตะคริวแดด (Heat cramp)

ที่มา:

http://www.wikihow.com/Treat-Heat-Cramps

ขอขอบคุณ

อาจารย์บุศราสิริ ธนะ ผู้ช�ำนาญ สาขาโลก ดาราศาสตร์

และอวกาศ สสวท. ในการให้ค�ำปรึกษาทางวิชาการ

Play Video