

20
นิตยสาร สสวท
5. กระตุ้นให้นักเรียนคิดนอกกรอบ และทดสอบ
ข้อสงสัยด้วยตนเอง
หนึ่งในจุดประสงค์หลักของสะเต็มศึกษา
คือ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน กิจกรรมสะเต็ม
จึงเป็นการเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหาที่ไม่มีค�ำตอบที่ถูกต้อง
ที่สุดเพียงข้ อเดียว แต่มีทางเลือกในการแก้ปัญหาได้
หลากหลายแนวทาง กิจกรรมนาวาฝ่าวิกฤตก็เช่นกัน นักเรียน
สามารถสร้างแพเพื่อใช้แก้สถานการณ์ปัญหาน�้ำท่วมได้
หลายรูปแบบ และแม้ว่าการเรียนรู้แบบสืบเสาะในกิจกรรม
นาวาฝ่าวิกฤตจะก�ำหนดแนวทางในการสืบเสาะหาความรู้
ไว้แล้ว แต่กิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวก็ไม่ได้ปิดกั้นความคิด
สร้างสรรค์ของนักเรียนเลยทีเดียว ในระหว่างที่เรียนรู้ นักเรียน
สามารถคิดนอกกรอบและทดสอบข้อสงสัยได้ด้วยตนเอง
เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในกิจกรรมเพื่อหาค�ำตอบว่าการวางวัตถุ
ณ ต�ำแหน่งที่สูงหรือต�่ำมีผลต่อการทรงตัวของเรืออย่างไร
นักเรียนจะต้องก�ำหนดมวลของดินน�้ำมันที่บรรทุก ความสูง
ของเสากระโดงเรือ และวิธีการวางดินน�้ำมันบนเรือสองชั้น
ด้วยตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้หลักฐานที่ได้จากการทดลอง
มีความหลากหลายและครอบคลุมเนื้อหาได้ในเวลาจ�ำกัด
มากกว่าการให้นักเรียนทุกกลุ่มท�ำการทดลองโดยใช้วิธีการ
ที่เหมือนกัน การเรียนรู้ในรูปแบบนี้ ครูจึงมีบทบาทส�ำคัญ
ในการช่วยนักเรียนสร้างและสรุปองค์ความรู้เพื่อให้สามารถ
อธิบายได้ครอบคลุมทุกหลักฐานที่ได้จากการทดลองของ
นักเรียนในแต่ละกลุ่ม
6. เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับแนวทางการแก้ปัญหา
จากประสบการณ์ผู้ออกแบบกิจกรรมพบว่า ในบางครั้ง
นักเรียนไม่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ก�ำลังเรียนรู้กับปัญหาได้
ดังนั้น จึงจ�ำเป็นต้องมีกลวิธีช่วยให้การเชื่อมโยงชัดเจนขึ้น
โดยใช้วิธีการกระตุ้นให้นักเรียนท�ำงานร่วมกันแล้วอภิปราย
เพื่อหาข้อสรุปว่า สิ่งที่นักเรียนได้จากกิจกรรมการเรียนรู้
แบบสืบเสาะสามารถน�ำมาใช้ในการแก้ปัญหาหลักของ
กิจกรรมนาวาฝ่าวิกฤตได้ดียิ่งขึ้นอย่างไร ตัวอย่างเช่น
ในกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่อง วัตถุที่อยู่สูงหรือต�่ำ
มีผลต่อการทรงตัวของเรือหรือแพอย่างไร นักเรียนควรสรุปได้ว่า
การสร้างแพจะต้องท�ำให้ศูนย์ถ่วงของวัตถุอยู่ต�่ำที่สุดเท่าที่จะท�ำได้
เพื่อให้แพไม่พลิกคว�่ำง่าย และการบรรทุกของบนแพจะต้อง
วางวัตถุให้กระจายตัวในแนวระดับมากกว่าการวางซ้อนกัน
7. ใช้ภาพหรือแอนิเมชันประกอบการเรียนรู้
ภาพหรือแอนิเมชันเป็นสื่อที่ช่วยให้นักเรียนสามารถสร้าง
ความเข้าใจและสรุปความรู้ได้ดีขึ้น การน�ำภาพหรือแอนิเมชัน
มาใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนรู้จึงท�ำให้การเรียนรู้เกิดขึ้น
ได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ในกิจกรรมการเรียนรู้แบบ
สืบเสาะที่ 1 ว่าจะท�ำดินน�้ำมันให้ลอยน�้ำได้อย่างไร อาจมี
การใช้ภาพแสดงให้เห็นว่า ดินน�้ำมันทรงตันไม่ว่าจะเป็น
ทรงปริซึมสี่เหลี่ยมหรือแผ่ เป็นแผ่นบางจะจมน�้ำเพราะ
ปริมาตรของน�้ำที่ถูกแทนที่มีค่าน้อย ในขณะที่ดินน�้ำมัน
ที่ถูกปั้นให้มีขอบหรือมีช่องว่างของอากาศอยู่ตรงกลาง
จะแทนที่น�้ำได้มาก ท�ำให้แรงพยุงมีค่ าเพิ่มขึ้น และมี
แนวโน้มจะลอยน�้ำได้
8. ใช้ค�ำถามเพื่อให้นักเรียนลองท�ำนายสิ่งที่จะ
เกิดขึ้นเพื่อกระตุ้นความสงสัยใคร่รู้
การเรียนรู้แบบสืบเสาะ
ในกิจกรรมนาวาฝ่าวิกฤตถูกออกแบบให้สอดคล้องกับแนวคิด
ในการจัดการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ให้ถูกต้อง (Conceptual Change Theory) โดยใช้กลวิธีการ
ตั้งค�ำถามเพื่อให้นักเรียนท�ำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้น จากนั้นให้
ท�ำการทดลองและสังเกตผลการทดลองด้วยตนเองเพื่อสรุป
เป็ นความรู้ ใหม่ ที่ถูกต้ องสอดคล้ องกับหลักการทาง
วิทยาศาสตร์ อันเป็นกลวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เรียกว่า POE
(Predict-Observe-Explain; ท�ำนาย-สังเกต-อธิบาย) ทั้งนี้
ค�ำถามหรือข้อสงสัยที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
นั้นได้มาจากประสบการณ์ของผู้ออกแบบกิจกรรมที่มักพบว่า
นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เช่น ดินน�้ำมัน
ที่แผ่เป็นแผ่นแบนจะสามารถลอยน�้ำได้ เพราะพื้นผิวที่สัมผัส
น�้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่ในความเป็นจริงกลับจมน�้ำ ถ้าดินน�้ำมัน
ที่ใช้มีขนาดใหญ่จนไม่สามารถท�ำให้บางมากๆ ได้ หรือ
การบรรทุกดินน�้ำมันบนเรือสองชั้นไม่ว่าวัตถุจะอยู่ที่ต�ำแหน่งใด
ก็ไม่ส่งผลต่อการทรงตัวของเรือ เพราะเรือมีปริมาตรและ
มวลเท่าเดิม แต่ในความเป็นจริงศูนย์ถ่วงของเรือมีผลต่อ
การทรงตัวของเรือ
ใช้ภาพเป็นสื่อประกอบ
การเรียนรู้
เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับปัญหา