

17
ปีที่ 44 ฉบับที่ 200 พฤษภาคม - มิถุนายน 2559
กิจกรรมนาวาฝ่าวิกฤต:
นักเรียนเรียนรู้ผ่านการออกแบบและสร้างแพส�ำหรับบรรทุกสิ่งของให้ได้ปริมาณมากที่สุด
โดยที่สิ่งของไม่เปียกน�้ำ
ดร.กวิน เชื่อมกลาง
•
นักวิชาการ ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ สสวท.
•
e-mail:
kchau@ipst.ac.thสุทธิดา บุญทวี
•
นักวิชาการ ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ สสวท.
•
e-mail:
suboon@ipst.ac.thรอบรู้
วิทย์
นาวาฝ่าวิกฤต : ตัวอย่างการเพิ่มระดับความเข้มข้นทางวิชาการ
ในการออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้
แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา
ในปัจจุบัน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตาม
แนวทางสะเต็มศึกษาก�ำลังเป็นหัวข้อหนึ่งที่ได้รับความสนใจ
จากครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นอย่างมาก ดังจะเห็น
ได้ว่า มีการจัดอบรม/สัมมนา/ปฏิบัติการเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา
ในหลายเขตพื้นที่การศึกษา อาจจะโดยการเผยแพร่ความรู้
จากวิทยากรที่มาจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยตรง หรือจากทั้งวิทยากรแกนน�ำ
(Core Trainer) และวิทยากรท้องถิ่น (Local Trainer) ที่ผ่านหลักสูตร
การพัฒนาวิทยากรของ สสวท. นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่
ความรู้ด้านสะเต็มศึกษาโดยบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ
ที่มีความสนใจและได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสะเต็มศึกษา
จากหลายๆ ช่องทาง แนวคิดเกี่ยวกับสะเต็มศึกษายังถูกน�ำไป
เผยแพร่ในรูปแบบของบทความ หนังสือ รวมถึงการเผยแพร่
ผ่านเว็บไซต์และสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ เหตุการณ์เหล่านี้
ได้เป็นกระแสสังคมที่ช่วยผลักดันให้แนวคิดเกี่ยวกับสะเต็ม
ศึกษาถูกเผยแพร่ไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศได้เร็วยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นการเติมเต็มความรู้ เสริมความเข้าใจ ไขความกระจ่าง
และเป็นแนวทางให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สนใจ
เกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตาม
แนวทางสะเต็มศึกษา ผู้เขียนจึงขอใช้บทความนี้น�ำเสนอ
แนวคิดและวิธีการที่ผู้เขียนใช้เป็นกรอบในการออกแบบและ
พัฒนากิจกรรมสะเต็ม โดยจะอ้างอิงถึงกิจกรรม “นาวาฝ่าวิกฤต”
ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมพัฒนาเป็นตัวอย่างในการน�ำเสนอ
แนวคิดในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตาม
แนวทางสะเต็มศึกษา ส�ำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม
นาวาฝ่าวิกฤต สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากนิตยสาร สสวท.
ฉบับที่ 198 ประจ�ำเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
หน้า 7 - 12