

18
นิตยสาร สสวท
ผู้เขียนใช้กรอบความคิดใดในการออกแบบและพัฒนากิจกรรม
การออกแบบและพัฒนากิจกรรมนาวาฝ่าวิกฤต มีแนวทางที่สอดคล้องกับแนวคิดที่ผู้เขียนได้รับจากการเข้าอบรม
ในหลักสูตร Developing Effective Master Core Trainers โดย Jo Anne Vasquez และ Michael W. Comer ที่มีชื่อว่า
กรอบความเข้มข้นทางวิชาการและความเชื่อมโยงกับชีวิตจริง (Rigor and Relevance Framework)
กรอบดังกล่าว
มีจุดมุ่งหมายเพื่อเตือนสติให้ผู้ออกแบบและพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล พึงระวัง คิดและพิจารณา
ตลอดเวลาว่าสิ่งที่ออกแบบและพัฒนานั้นมีความเข้มข้นทางวิชาการ (Rigor) และความเชื่อมโยงกับชีวิตจริง (Relevance)
ในระดับใด โดยหลักการทั้งสองด้านนี้ควรจะอยู่ในระดับสูงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในบทความนี้ จะขอกล่าวถึงวิธีการที่ใช้
ในการเพิ่มระดับความเข้มข้นทางวิชาการในกิจกรรมนาวาฝ่าวิกฤต
กรอบความเข้มข้นทางวิชาการและความเชื่อมโยงกับชีวิตจริง (The Rigor and Relevance Framework)
ที่มา:
http://www.leadered.comAPPLICATION MODEL
KNOWLEDGE TAXONOMY
วิธีการใดที่ช่วยเพิ่มระดับความเข้มข้นทางวิชาการ
การพิจารณาระดับความเข้มข้นทางวิชาการของ
หลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผลตามกรอบ
ความเข้มข้นทางวิชาการและความเชื่อมโยงกับชีวิตจริง
สามารถพิจารณาได้จากระดับการเรียนรู้โดยอาจแบ่งตาม
ระดับขั้นของบลูม (Bloom’s Taxonomy) ดังแสดงทางด้าน
ซ้ายของแกนตั้ง หรืออาจแบ่งตามระดับขั้นของบลูมที่ได้รับ
การปรับปรุงใหม่โดยแอนเดอร์สัน (Anderson) และครัทวอล
(Krathwohl) ดังแสดงทางด้านขวาของแกนตั้ง อย่างไรก็ตาม
การพิจารณาว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจะอยู่ในระดับใดนั้นขึ้นอยู่
กับระดับความรู้และความสามารถของนักเรียน ดังนั้นจึงไม่มี
หลักเกณฑ์และข้อก�ำหนดที่สามารถน�ำมาใช้ในการวัดระดับ
การเรียนรู้ของนักเรียนได้ทุกคน
เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาระดับความเข้มข้นทาง
วิชาการของกิจกรรมนาวาฝ่าวิกฤต ผู้ออกแบบกิจกรรมได้
ใช้วิธีพิจารณาระดับการใช้ความรู้และทักษะในการแก้ปัญหา
โดยกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในระดับต�่ำที่สุดจะเป็นการ
เล่นหรือการลองผิดลองถูก ซึ่งเป็นกรณีที่นักเรียนปฏิบัติ
ตามภารกิจโดยไม่ใช้ทักษะ ความรู้ และความคิดมากนัก
ท�ำให้โอกาสที่การเรียนรู้จะเกิดมีน้อย ส�ำหรับกิจกรรมที่การ
เรียนรู้เกิดขึ้นอยู่ในระดับสูงที่สุดจะขอเรียกว่า การออกแบบ