

21
ปีที่ 44 ฉบับที่ 200 พฤษภาคม - มิถุนายน 2559
9. จัดกิจกรรมให้การเรียนรู้เกิดขึ้นในอัตรา
ที่เหมาะสม
ในบางครั้งผู้ออกแบบกิจกรรมสะเต็มจ�ำเป็น
ต้องเลือกใช้แนวทางในการจัดกิจกรรมว่ารูปแบบใดเหมาะสม
กับความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนโดยยังรักษา
ความเข้มข้นทางวิชาการให้อยู่ในระดับสูงด้วย เช่น ในกิจกรรม
นาวาฝ่าวิกฤต ครูสามารถก�ำหนดให้การทดสอบชิ้นงาน
มี 2 รูปแบบ คือ การให้นักเรียนทดสอบการวางดินน�้ำมัน
บนแพที่สร้างขึ้นตามค่าที่ค�ำนวณได้เพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น
วิธีการนี้ นักเรียนต้องคิดค�ำนวณและพิจารณาความเป็นไป
ได้อย่างเข้มข้น จึงถือว่ามีความเข้มข้นทางวิชาการระดับสูง
ในขณะที่การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่สองเป็นการก�ำหนด
ให้นักเรียนทดสอบการบรรทุกดินน�้ำมันบนแพที่สร้างขึ้น
โดยเพิ่มจ�ำนวนดินน�้ำมันครั้งละ 1 ก้อนจนถึงปริมาณ
ที่ก�ำหนด เพื่อให้นักเรียนได้คิดแก้ปัญหาว่าจะต้องวางดินน�้ำมัน
ที่เพิ่มอย่างไร การจัดกิจกรรมในรูปแบบนี้ก็มีความเข้มข้นทาง
วิชาการในระดับสูงเช่นกัน ทั้งนี้ ผู้ออกแบบกิจกรรมได้เลือก
ใช้การทดสอบในรูปแบบที่ 2 เนื่องจากต้องการแก้ความเข้าใจ
ที่คลาดเคลื่อนที่ว่า จ�ำนวนการบรรทุกดินน�้ำมันบนแพจะเป็น
จ�ำนวนคู่เท่านั้นจึงจะท�ำให้สามารถทรงตัวได้โดยไม่พลิกคว�่ำ
การทดสอบชิ้นงานโดยการเพิ่มดินน�้ำมันครั้งละ 1 ก้อน
จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ว่าการบรรทุกดินน�้ำมัน
สามารถท�ำได้ทั้งดินน�้ำมันที่มีจ�ำนวนคี่และจ�ำนวนคู่ อีกทั้ง
ยังเป็นการให้นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น
ระหว่างการบรรทุกดินน�้ำมันที่เพิ่มขึ้นด้วย
10. ก�ำหนดระยะเวลาในการท�ำกิจกรรมที่ไม่สั้น
หรือไม่นานจนเกินไป
กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทาง
สะเต็มศึกษาสามารถจัดขึ้นได้ในหลากหลายลักษณะจึงส่งผล
ให้ระยะเวลาที่นักเรียนใช้ในการแก้ปัญหามีความหลากหลาย
โดยอาจจะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เวลานาน 1 ภาคเรียนต่อ
1 ปัญหา หรืออาจจะเป็นกิจกรรมระยะสั้นเพียงแค่ 15 นาที
ส�ำหรับการแก้ปัญหาที่ไม่มีความซับซ้อน ส�ำหรับกิจกรรม
นาวาฝ่าวิกฤตนั้น ผู้ออกแบบได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ควรใช้
เวลาทั้งสิ้นประมาณ 3 คาบเรียน หรือ ประมาณ 150 นาที
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ไม่สั้นจนนักเรียนไม่มีเวลาเรียนรู้ และไม่นาน
จนนักเรียนหมดความสนใจใคร่รู้ ซึ่งจะส่งผลให้ความเข้มข้น
ทางวิชาการลดลง ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจน�ำกิจกรรมนาวาฝ่าวิกฤต
ไปใช้อาจเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในการจัดกิจกรรมได้ตามที่
เห็นสมควร
11. ใช้การประเมินผลที่สะท้อนการบูรณาการ
ความรู้ ในการแก้ปัญหา
การประเมินผลเป็นหนึ่งใน
ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการท�ำกิจกรรมของนักเรียน
การประเมินผลจึงมีส่วนช่วยเพิ่มความเข้มข้นทางวิชาการ
ของกิจกรรมได้เป็นอย่างดีทั้งนี้ ในระหว่างการท�ำกิจกรรมสะเต็ม
นักเรียนต้องรู้ตัวอยู่เสมอว่า การประเมินผลจะไม่เน้นเพียงแค่
ความส�ำเร็จในการแก้ปัญหาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการให้
เหตุผลในการออกแบบ การอธิบายความรู้หลักการที่ใช้
ในการออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการ
ท�ำงานกลุ่มด้วย นอกจากนี้ ครูในแต่ละสาขาวิชายังสามารถ
ประเมินความรู้ที่นักเรียนได้รับจากใบบันทึกกิจกรรมและ
การท�ำกิจกรรมของนักเรียนด้วย การประเมินที่เข้มข้น
จะท�ำให้นักเรียนให้ความสนใจและตั้งใจท�ำกิจกรรมสะเต็ม
ที่มีความเข้มข้นทางวิชาการมากยิ่งขึ้น
ที่มา:
http://www.anuban.ac.th/wp-content/ uploads/2014/11/3_resize.jpg