Table of Contents Table of Contents
Previous Page  13 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 13 / 62 Next Page
Page Background

13

ปีที่ 44 ฉบับที่ 200 พฤษภาคม - มิถุนายน 2559

ประเทศไทย กั

บ คลื่นความร้อน...

ที่มา:

http://mpics.manager.co.th/pics/Images/558000007723503.JPEG

การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอากาศโดยคลื่นความร้อน

สามารถเกิดได้ 2 รูปแบบ คือ

1.

การเกิดคลื่นความร้อนแบบสะสมความร้อน :

คลื่นความร้อนที่เกิดจากกรณีนี้ จะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ได้สะสม

ความร้อนเป็นเวลานาน พื้นที่มีความแห้งแล้ง ปราศจากเมฆ

และลมสงบนิ่งเป็นเวลาหลายวัน ส่งผลให้มวลอากาศร้อน

ไม่เคลื่อนที่ อุณหภูมิอากาศของพื้นที่นั้นจึงเพิ่มสูงขึ้นอย่าง

ต่อเนื่อง และมวลอากาศร้อนจะมีสะสมจนกลายเป็นคลื่น

ความร้อน การเกิดคลื่นความร้อนรูปแบบนี้ มักเกิดในแอฟริกา

ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ อินเดีย และปากีสถาน

2.

การเกิดคลื่นความร้อนแบบพัดพาความร้อน :

ในกรณีนี้ คลื่นความร้อนเกิดจากการมีลมแรงที่หอบมวล

ความร้อนจากทะเลทรายหรือเส้นศูนย์สูตร เข้ามาในพื้นที่

ที่มีอากาศเย็นกว่าหรือพื้นที่เขตหนาว ส่งผลให้อุณหภูมิ

ในพื้นที่นั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และอุณหภูมิจะยังสูง

อยู่จนกระทั่งลมร้อนนั้นได้พัดผ่านไปหรือสลายตัวไปเอง

การเกิดคลื่นความร้อนรูปแบบนี้ มักพบในพื้นที่เขตหนาว เช่น

แถบยุโรป

ส�ำหรับประเทศของเรา แม้คนไทยมักพูดเป็นเสียง

เดียวกันว่าอากาศบ้านเราร้อนร้อนมากและร้อนที่สุดแต่ค�ำพูด

ดังกล่าวบอกสภาพอากาศปกติในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศร้อน

เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยมีรายงานว่าพื้นที่ใดมีอุณหภูมิอากาศ

เพิ่มสูงกว่าปกติอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นคลื่นความร้อนเลย

ที่เป็นเช่นนั้นอาจจะเพราะประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่

ที่มีมวลอากาศร้อนจัด ไม่มีทะเลทราย แต่มีพื้นที่อยู่ใกล้ทะเล

จึงได้รับความชื้นเข้ามาปกคลุมพื้นที่ ประกอบกับการได้รับ

อิทธิพลจากลมต่างๆที่พัดปกคลุมพื้นที่ตลอดปีนอกจากนี้ก็ยัง

ได้รับมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาอย่างต่อเนื่อง

ท�ำให้เกิดฝนตกด้วย ดังนั้นโอกาสที่จะมีความร้อนสะสม

ในพื้นที่จนเกิดคลื่นความร้อนจึงเป็นไปได้น้อย อย่างไรก็ตาม

ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกร้อนของไทยบางท่านให้ความเห็นว่า

ประเทศไทยอาจมีคลื่นความร้อนเกิดขึ้นได้ในอนาคตเช่นกัน

เนื่องจากในปัจจุบัน ปรากฎการณ์เอลนีโญยังทวีความรุนแรง

จึงท�ำให้ประเทศไทยมีสภาพอากาศที่แห้งแล้ง และอุณหภูมิ

อากาศเพิ่มสูงขึ้นมากโดยเฉพาะในฤดูร้อน

ที่มา:

https://10technician.files.wordpress.com/2012/06/113.jpg