Previous Page  11 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 11 / 62 Next Page
Page Background

ศักยภาพผู้เรียนคงไม่ส�

ำเร็จอย่างแน่นอน ดังนั้นรัฐบาลและหน่วย

งานที่เกี่ยวข้องควรให้ความส�

ำคัญกับการพัฒนาศักยภาพครูผู้

สอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ

เข้ามามีบทบาทอย่างมาก และจากงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อ

การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อ

ท�

ำการวิจัยเชิงนโยบาย และเผยแพร่ผลงานวิจัยต่อภาครัฐบาล

และเอกชน ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า “ระบบการศึกษาของไทยยัง

มีความเหลื่อมล�้

ำของคุณภาพการศึกษาในระดับสูง และระบบ

การเรียนการสอนไม่เหมาะกับบริบทของศตวรรษที่ 21 โดย

เฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ที่ส�

ำคัญ

ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดเชิงวิพากษ์

และการแก้ปัญหา การสื่อสารและการร่วมมือ รวมทั้งทักษะด้าน

สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ซึ่งนักเรียนควรจะต้องมีความรู้

พื้นฐานในด้านสารสนเทศ ด้านสื่อและด้านไอซีที”

อย่างไรก็ตาม ในยุคที่โลกที่มีการแข่งขันสูงการศึกษาวิทยา

ศาสตร์นับเป็นปัจจัยล�

ำดับต้น ๆ ที่ควรได้รับการพัฒนา และจาก

การศึกษาพบว่าการศึกษาวิทยาศาสตร์อย่างมีคุณภาพสามารถ

ช่วยพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้ เช่น ช่วยพัฒนาทักษะ

การคิดระดับสูง การแก้ปัญหา รวมทั้งการสื่อสารและความร่วม

มือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจัดการเรียนรู้ให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับ

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการฝึกปฏิบัติ

ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการ

ศึกษาวิทยาศาสตร์อย่างมีคุณภาพมีความส�

ำคัญอย่างมากใน

การช่วยเพิ่มทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการยกระดับคุณภาพการ

ศึกษาและเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้น

เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักสูตร

การพัฒนาศักยภาพครูและการจัดการเรียนรู้ เป็นปัจจัยล�

ำดับ

แรก ๆ ที่ควรให้ความส�

ำคัญ

หลักสูตร

หลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นหลักสูตรเชิงสหวิทยาการ

(interdisciplinary) โดยมีการจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการ และ

ยึดโครงงานเป็นฐาน นอกจากนี้ควรเป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้

นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาในโลกที่เป็นจริง และ

สามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจ�

ำวันได้ เน้นทักษะการคิด การ

แก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมัลติมีเดีย ส�

ำหรับการวัดและ

ประเมินผลจะเน้นการประเมินผลตามสภาพจริงและนักเรียนมี

ส่วนร่วมในการประเมินตนเอง (self-assessment)

ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้

การพัฒนาครูเพื่อให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ตาม

เป้าหมายนั้น ครูควรได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถดังนี้

1. ครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการทักษะในศตวรรษ

ที่ 21 เครื่องมือการเรียนรู้และกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ไปสู่​การ

ปฏิบัติการในชั้นเรียน

2. ครูสามารถจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการเนื้อหาวิชาทั้ง

ภายในและระหว่างวิชา

3. ครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการท�

ำโครงงาน เชื่อม

โยงการเรียนรู้สู่ชีวิตจริง

4. ครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนลงมือ

ปฏิบัติ ฝึกคิด และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะที่สอดรับกับ

ทักษะพื้นฐานและทักษะในศตวรรษที่ 21 ร่วมด้วย

5. ครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้

นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และท�

ำงานแบบร่วมมือ

6. ครูสามารถออกแบบการวัดและประเมินผลที่รองรับ

การประเมินผลอย่างต่อเนื่องของการพัฒนาทักษะศตวรรษที่

21 ของนักเรียน

7. ครูสามารถใช้เทคโนโลยี สื่อมัลติมีเดียเป็นเครื่องมือ

ช่วยในการจัดการเรียนรู้

8. ครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาเป็นราย

บุคคลตามศักยภาพของผู้เรียน

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นการจัดการเรียนรู้

ที่ช่วยให้นักเรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง เน้นการ

ศึกษาตลอดชีวิต ด้วยวิธีการที่มีความยืดหยุ่น มีการกระตุ้นและ

จูงใจให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

ปีที่ 42

|

ฉบับที่ 185

|

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556

11