Previous Page  12 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 12 / 62 Next Page
Page Background

“ครูต้องมีความสามารถในการออกแบบและอ�

ำนวยความ

สะดวกต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้

ผ่านการเรียนรู้จากการปฏิบัติ”

ดังนั้นครูต้องมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ด้วย

กระบวนการสืบเสาะความรู้ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

เป็นฐาน (project-based learning) หรือการเรียนรู้แบบปัญหา

เป็นฐาน (problem-based learning) รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียน

สามารถเรียนรู้และท�

ำงานแบบร่วมมือ

การน�

ำโครงงานมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ไม่ใช่สิ่งใหม่

การเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นไปตามความสนใจของผู้เรียน การ

ออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้น

และใช้ทักษะการคิดขั้นสูง

ลักษณะส�

ำคัญของการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

1. ประเด็นปัญหา

ประเด็นปัญหาที่น�

ำมาจัดการเรียนรู้

แบบโครงงาน ควรเป็นเรื่องที่นักเรียนสนใจ สงสัย ต้องการหา

ค�

ำตอบ

2. แนวทางในการแก้ปัญหาหรือหาค�

ำตอบ

การหาค�

ำตอบ

ควรเป็นการศึกษาด้วยตนเองอย่างมีระบบ มีวิธีการศึกษาหลาย

วิธี ซึ่งครอบคลุมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น โดยศึกษา

จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีครูเป็นที่ปรึกษาตลอด

กระบวนการท�

ำงาน

3. การสรุปองค์ความรู้ ข้อค้นพบ

การสรุปองค์ความรู้ ข้อ

ค้นพบ ควรเป็นการสรุปความรู้ที่สามารถน�

ำไปใช้ในชีวิตจริงได้

กระตุ้นให้ผู้เรียนต้องการศึกษาหาค�

ำตอบอย่างต่อเนื่อง และ

สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นได้

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ แบบใช้โครงงานเป็นฐาน

1. เลือกหัวข้อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา

2. วางแผนการศึกษา

2.1 ก�

ำหนดจุดประสงค์

2.2 ตั้งสมมุติฐาน

2.3 ก�

ำหนดวิธีการศึกษา

3. ลงมือปฏิบัติ

4. เขียนรายงาน

5. น�

ำเสนอผลงาน

ค�

ำถามเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการเรียนรู้

โดยใช้โครงงานเป็นฐาน

1. ต้องการให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ใดหรือมาตรฐานใด

2. ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไร

3. สถานการณ์ในชีวิตจริงหรืออาชีพใดที่จะน�

ำมาประยุกต์

ใช้ในการจัดการเรียนรู้

4. ปัญหาอะไรที่จะน�

ำมาใช้ภายใต้เงื่อนไขค�

ำถามในข้อ

1 - 3

5. มีแหล่งเรียนรู้ใดที่นักเรียนต้องการ เช่น หนังสือ เว็บไซต์

อุปกรณ์ เครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนรู้

6. ให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือการเรียนรู้ของนักเรียน

ได้อย่างไร

7. มีการจัดกลุ่มนักเรียนอย่างไรเพื่ออ�

ำนวยความสะดวก

ในการเรียนรู้ และจะมีกฎระเบียบอย่างไร

8. การประเมินผลแบบใดบ้างที่น�

ำมาใช้ในการประเมินการ

พัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียน

9. ให้นักเรียนน�

ำเสนอผลการแก้ปัญหาด้วยวิธีการใด

10. ให้ข้อมูลสะท้อนกลับต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไร

(ที่มา :

http://www.bie.org

)

นิตยสาร สสวท.

12