Previous Page  23 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 23 / 62 Next Page
Page Background

นิรมิษ เพียรประเสริฐ

นักวิชาการ สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. / e-mail :

npain@ipst.ac.th

เรื่องเด่นประจำ

�ฉบับ

สะเต็มศึกษา (STEMEducation)

ที่ก�

ำลังจะเข้ามามีบทบาท

ต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนไทยในรูปแบบของการบูรณาการที่

จะท�

ำให้นักเรียนเกิดความรู้ ทักษะในด้านวิทยาศาสตร์ (

S

cience)

เทคโนโลยี (

T

echnology) วิศวกรรมศาสตร์ (

E

ngineering)

และคณิตศาสตร์ (

M

athematics) เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการ

จัดการเรียนรู้ ที่ครูและนักเรียนอาจมีค�

ำถามคาใจว่ามีขั้นตอน

อย่างไร ต้องปรับตัว และปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนให้

แตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ รวมทั้งความมุ่งหวังของสะเต็มคือ

อะไรนั้น อยากให้เริ่มต้นที่บทบาทของครูที่จะต้องท�

ำความเข้าใจ

ในวิธีการบูรณาการ แล้วน�

ำวิธีนั้นไปปฏิบัติจริงในห้องเรียน โดย

เริ่มจากกิจกรรมเล็ก ๆ ง่าย ๆ หรือน�

ำกิจกรรมที่ครูเคยใช้ใน

ห้องเรียนมาบูรณาการกับความรู้อื่น ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มกิจกรรม

ไปเรื่อย ๆ ซึ่งในช่วงแรกของการจัดกิจกรรมสะเต็มนี้ ครูอาจจะ

ต้องมีภาระเพิ่มขึ้นจากการหาวิธีการบูรณาการความรู้ในหลาย ๆ

ศาสตร์ หรือหลายวิชา และภาระที่จะต้องลองจัดกิจกรรมในรูป

แบบใหม่ ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

หรือศตวรรษถัดไปจะเป็นอย่างไร รูปแบบการบูรณาการความ

รู้ในแนวทางของสะเต็ม ยังคงสามารถใช้ได้เสมอ ทั้งยังมีส่วน

ช่วยยกระดับการเรียนรู้และทักษะของนักเรียนโดยเฉพาะในด้าน

วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี

การเรียนรู้แบบสะเต็มผ่านกิจกรรมต่าง ๆ นั้น ครูอาจต้อง

จัดหาสื่อที่มีความน่าสนใจมาช่วยดึงดูดให้นักเรียนเข้าสู่กระบวนการ

ของกิจกรรมก่อน จากนั้นนักเรียนจะค่อย ๆ ซึมทราบความรู้

และทักษะจากการท�

ำกิจกรรมอย่างไม่รู้ตัว

ตัวอย่างเช่น ของเล่น

เกม วีดิทัศน์ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่จะขอน�

ำมายกตัวอย่างให้เห็น

ถึงสื่อที่สามารถน�

ำมาจัดกิจกรรมสะเต็มได้

ทั้งยังท�

ำให้นักเรียนได้ทั้งความรู้ ทักษะ และความสนุกสนาน

ไปพร้อม ๆ กัน

หุ่นยนต์

คือ เครื่องจักรกลชนิดหนึ่งที่ท�

ำงานตามความ

ต้องการหรือการสั่งการของมนุษย์ กล่าวคือสามารถปฏิบัติ

งานแทนมนุษย์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งในงานที่

เสี่ยงอันตรายที่มนุษย์ไม่สามารถท�

ำได้ สามารถท�

ำงานอย่าง

เป็นอัตโนมัติด้วยตัวหุ่นยนต์เอง หรือถูกควบคุมโดยมนุษย์อีกที

หุ่นยนต์

โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการ

ใช้งาน คือ

เรียนรู้แบบ STEM

ผ่าน “หุ่นยนต์”:

สร้างการมีส่วนร่วม

ของนักเรียน

สแกนโค้ดนี้เพื่อชม

ภาพเคลื่อนไหว

ปีที่ 42

|

ฉบับที่ 185

|

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556

23