

Science Teachers Association (2013, p. 84) ได้เสนอผล
การวิเคราะห์ไว้ในภาพรวมเป็น 5 แนวทาง คือ
1. การเรียนแบบสอดคล้องกัน (Coordinate)
หมายถึง การแยกสอนแต่ละรายวิชา แต่จะมีเนื้อหาที่
สอดคล้องกัน เพื่อน�
ำความรู้ไปเชื่อมโยงซึ่งกัน เช่น ในช่วงชั้น
หรือชั้นปีเดียวกัน เนื้อหาสาระของแต่ละวิชาที่ควรจะเชื่อมโยง
กัน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ที่เพียงพอส�
ำหรับท�
ำความเข้าใจใน
รายวิชาอื่น ๆ โดยที่ผู้สอนของรายวิชานั้นไม่ต้องสอนเพิ่มเติม
2. การเรียนแบบเสริมกัน (Complement)
หมายถึง การเรียนรู้ในหัวข้อหลักของรายวิชาหนึ่งจะมีการ
เสริมความรู้ในรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ในการสอนเรื่องการ
โคจรของดาวเคราะห์ ผู้สอนจะต้องสอนเรื่องแรงโน้มถ่วง และ
กฎเคพเลอร์ไปพร้อม ๆ กัน ในกรณีนี้จะสอดคล้องกับการที่ผู้
สอนหนึ่งคนรับผิดชอบหลายวิชา
3. การเรียนรู้แบบสัมพันธ์กัน (Correlate)
หมายถึง การเรียนรู้ที่แยกวิชา แต่มีหัวข้อในการเรียนรู้
เดียวกัน โดยที่เนื้อหาสาระจะสอดคล้องกับธรรมชาติของวิชานั้น
เช่น การเรียนรู้ในหัวข้อพลังงานพร้อมกันในทุกวิชา แต่ความ
แตกต่าง คือ แต่ละวิชาจะศึกษาเกี่ยวกับพลังงานที่เกี่ยวข้อง
กับวิชาของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามสุดท้ายนักเรียนจะมีความ
รู้เกี่ยวกับพลังงานในภาพรวมทั้งหมด
4. การเรียนรู้โดยมีตัวเชื่อม (Connections)
หมายถึง การเรียนรู้โดยใช้วิชาใดวิชาหนึ่งเป็นวิชาในการ
เชื่อมโยงวิชาอื่น แต่ส่วนใหญ่จะใช้วิชาเทคโนโลยีและวิศวกรรม
เป็นตัวเชื่อม เช่น หลักสูตรเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
5. การเรียนรู้แบบรวมกัน (Combine)
หมายถึง การใช้ความรู้ของ 4 วิชา หรือแม้แต่รายวิชา
อื่น ๆ ที่นอกเหนือจาก STEM มาบูรณาการร่วมกันเพื่อใช้ใน
การแก้ปัญหา โดยอาจตั้งเป็นวิชา หลักสูตร หรือบทเรียนใหม่
เช่น การใช้วิชาโครงงานในการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณา
การตามแนวสะเต็มศึกษา
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของวิชาโลก
ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ตามธรรมชาติของวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ จะ
เป็นวิชาที่บูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ทั้งฟิสิกส์ เคมี
และชีววิทยา เพื่อมาช่วยในการอธิบายและเข้าใจปรากฏการณ์
ต่าง ๆ ในอีกมุมมองหนึ่งที่ทั้ง 3 รายวิชาข้างต้นอาจยังไม่ได้
กล่าวถึง นอกจากการบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
ดังกล่าวแล้ว ยังจ�
ำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์
และเทคโนโลยี มาช่วยในการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ดังนั้นการ
เรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาในวิชานี้อาจมีภาพที่ชัดเจน
กว่าในหลายวิชา ส่วนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ก็สามารถท�
ำได้
หลายรูปแบบดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการ
จัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาในมุมมองของผู้เขียนที่
ผู้สอนสามารถน�
ำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ
โดยไม่จ�
ำเป็นต้องแยกเป็นกิจกรรมนอกชั้นเรียน ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 การศึกษาเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศ
ผู้เรียนสามารถศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ
หรือสัญลักษณ์อากาศที่ส�
ำคัญตามบทเรียน โดยใช้ความรู้ทาง
เทคโนโลยีมาช่วยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวางขึ้น
ซึ่งได้แก่ การใช้ข้อมูลจากดาวเทียม เรดาร์ และแผนที่อากาศ
ดังตัวอย่างกิจกรรมที่ 1
ภาพที่ 1 ตัวอย่างแผนที่อากาศในช่วงฤดูฝน
นิตยสาร สสวท.
20