

เรื่องเด่นประจำ
�ฉบับ
กวิน เชื่อมกลาง
นักวิชาการ สาขาฟิสิกส์ สสวท
. / e-mail:
kchau@ipst.ac.thกิจกรรมสะเต็มหรรษา
: ลูกโป่งน�้
ำบันจีจัมป์
กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษามีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อ
เสริมสร้างทักษะและกระบวนการในการประยุกต์ใช้องค์ความ
รู้ต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาทั้งในการด�
ำเนินชีวิตประจ�
ำวันและการ
ประกอบอาชีพของนักเรียนในอนาคต และให้นักเรียนสามารถ
เชื่อมโยงความรู้ที่ได้เรียนในชั้นเรียนกับนวัตกรรมต่าง ๆ ใน
ชีวิตประจ�
ำวันได้ นอกจากนี้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็ม
ศึกษายังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้
วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอีกด้วย
ในวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา สาขาฟิสิกส์
สสวท. ได้มีโอกาสเป็นตัวแทนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม
แนวสะเต็มศึกษาให้กับบุคลากรภายใน สสวท. เพื่อเป็นการเผย
แพร่และแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
สะเต็มพร้อมทั้งเป็นการทดลองใช้กิจกรรมสะเต็มที่สาขาฟิสิกส์
พัฒนาขึ้น โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันนั้น คือ “
กิจกรรมสะเต็ม
หรรษา: ลูกโป่งน�้
ำบันจีจัมป์
” ซึ่งจะเป็นกิจกรรมที่น�
ำเสนอใน
บทความนี้ โดยผู้เขียนจะขอเริ่มจากการอธิบายเกี่ยวกับนิยาม
ที่มาและความส�
ำคัญของสะเต็มศึกษาก่อน เพื่อให้ท่านผู้อ่านมี
ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็ม
ศึกษาภายใต้แนวคิดของสาขาฟิสิกส์ สสวท. จากนั้นจึงจะกล่าว
ถึงแนวทางในการจัดกิจกรรมลูกโป่งน�้
ำบันจีจัมป์
สะเต็มศึกษา (STEM Education)
สะเต็มศึกษาเกิดขึ้นภายใต้แนวความคิดของนักการศึกษา
กลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่า นักเรียนทุกคนควรได้รับความรู้ความเข้าใจ
และทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง
เหมาะสมเพื่อน�
ำไปใช้ประกอบการคิดและการตัดสินใจในการ
ด�
ำรงชีวิตอยู่ในสังคม ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ให้มีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป สะเต็มศึกษาจึงให้ความส�
ำคัญกับ
การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะที่จ�
ำเป็นต่อการใช้
แก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจ�
ำวัน โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องการ
รักษาสิ่งแวดล้อม การขาดแคลนแหล่งพลังงาน การขาดแคลน
ทรัพยากรธรรมชาติ และการดูแลสุขพลานามัย ซึ่งจ�
ำเป็นต้อง
ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
และเทคโนโลยี เข้ามาช่วยในการหาแนวทางแก้ปัญหา
สะเต็มศึกษาเป็นกิจกรรมการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่
ออกแบบมาเพื่อเติมเต็มการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
และเทคโนโลยีให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยการบูรณาการ
ทั้งสามวิชาผ่าน
กระบวนการการออกแบบวิศวกรรมศาสตร์
(Engineering design process)
สะเต็มศึกษาไม่ได้มุ่งเน้นเพียง
เนื้อหาสาระ ทักษะ และกระบวนการที่จ�
ำเป็นในการท�
ำความ
เข้าใจและแสวงหาองค์ความรู้ แต่สะเต็มศึกษาได้ให้ความส�
ำคัญ
กับกระบวนการในการน�
ำความรู้เหล่านี้มาใช้ประกอบการคิด
ค้นหา และคัดเลือกวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหาที่
เกี่ยวข้องกับการด�
ำเนินชีวิตและการท�
ำงานอีกด้วย
กระบวนการการออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์ ได้มีการน�
ำ
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้และก�
ำหนดไว้ในหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 โดยเรียก
กระบวนการนี้ว่า
กระบวนการเทคโนโลยี (Technological
process)
ประกอบด้วยการท�
ำงาน 7 ขั้นตอน คือ
1. ก�
ำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem,
need or preference)
2. รวบรวมข้อมูล (Information gathering to develop
possible solutions)
3. เลือกวิธีการ (Selection of the best possible solu-
tions)
4. ออกแบบและปฏิบัติ (Design and making)
5. ทดสอบ (Testing to see if it works)
6. การปรับปรุง (Modification and improvement)
7. ประเมินผล (Assessment)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ได้ริเริ่มและส่งเสริมให้มีการน�
ำกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว
สะเต็มศึกษามาใช้ในห้องเรียนเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการ
จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวิชาวิทยาศาสตร์
(Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์
(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)
สแกนโค้ดนี้เพื่อชม
ภาพเคลื่อนไหว
นิตยสาร สสวท.
26