

25
ปีที่ 42 ฉบับที่ 187 มีนาคม - เมษายน 2557
จากรูปที่ 2 De Lange (1999) ได้อธิบายความหมายดังนี้
1. การรู้เรื่องเชิงปริภูมิ (Spatial Literacy)
เป็นความรู้
พื้นฐานในการด�
ำรงชีพ สนับสนุนความเข้าใจเกี่ยวกับโลก
(สามมิติ) ที่เราอาศัยและด�
ำรงชีวิตอยู่ โดยมนุษย์ต้องมีความเข้าใจ
เกี่ยวกับสมบัติของวัตถุ
2. การคิดค�
ำนวณ (Numeracy)
Treffers (1991) ได้
ให้ความหมายไว้ว่า เป็นการเน้นความสามารถในการจัดการ
จ�
ำนวนและข้อมูล และสามารถประเมินผลของการแก้ปัญหา
หรือสถานการณ์ได้
3. การรู้เรื่องเชิงปริมาณ (Quantitative Literacy)
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มของปรากฏการณ์วิทยา (phenom-
enology) เช่น ปริมาณ การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์
ความไม่แน่นอน โดยเน้นไปยังความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
ความแน่นอน (ปริมาณ) ไม่แน่นอน และความสัมพันธ์
และจากรูปที่ 2 เราจะพบว่าสิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อน ความรู้ทั้ง
3 ด้านนั้นต้องเกิดมาจากความรู้ใน 4 เรื่อง PISA ให้ความส�
ำคัญ
และน�
ำมาเป็นหัวข้อในการประเมิน โดยได้อธิบายทั้ง 4 หัวข้อดังนี้
1. ปริมาณ (Quantity)
จุดเน้นเรื่องนี้ คือ การบอก
ปริมาณ รวมทั้งความเข้าใจเกี่ยวกับขนาด แบบรูปของจ�
ำนวน
การน�
ำจ�
ำนวนไปใช้ เพื่อแสดงปริมาณและแสดงวัตถุต่าง ๆ ใน
โลกจริง ๆ ในเชิงปริมาณ (การนับและการวัด) นอกจากนี้ปริมาณ
ยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการและความเข้าใจเรื่องจ�
ำนวนที่น�
ำมา
ใช้ในเรื่องต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
2. ความไม่แน่นอนและข้อมูล (Uncertainty and data)
เรื่องของความไม่แน่นอนเกี่ยวข้องกับสองเรื่อง คือ ข้อมูล และ
โอกาส ซึ่งเป็นการศึกษาทางสถิติ และเรื่องของ ความน่าจะเป็น
ข้อเสนอแนะส�
ำหรับหลักสูตรคณิตศาสตร์ในโรงเรียนคือ ให้เน้น
หรือให้ความส�
ำคัญกับเรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ให้เป็นจุดเด่น
มากกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต เพราะว่าโลกในปัจจุบันในยุคของ
“สังคมข้อมูลข่าวสาร” ข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลเข้ามาและแม้ว่า
จะอ้างว่าเป็นข้อมูลที่ตรวจสอบได้จริง แต่ในชีวิตจริงเราต้องเผชิญ
กับความไม่แน่นอนหลายอย่าง เช่น ผลการเลือกตั้งที่ไม่คาดคิด
การพยากรณ์อากาศที่ไม่เที่ยงตรง การล้มละลายทางเศรษฐกิจ
การเงิน การพยากรณ์ต่าง ๆ ที่ผิดพลาด แสดงให้เห็นถึง
ความไม่แน่นอนของโลก คณิตศาสตร์ที่เข้ามามีบทบาทในส่วน
นี้คือ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การน�
ำเสนอข้อมูล
ความน่าจะเป็น และการอ้างอิงทางสถิติ
3. การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ (Change and
relationships)
เป็นเนื้อหาที่ชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก
อย่างมหาศาล และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทั้งชั่วคราว
และถาวรของการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตขณะเจริญเติบโต การหมุนเวียน
ของฤดูกาล การขึ้นลงของกระแสน�้
ำ การเปลี่ยนแปลงของอวกาศ
การขึ้นลงของหุ้น การว่างงานของคน การเปลี่ยนแปลงบาง
กระบวนการสามารถบอกได้หรือสร้างเป็นตัวแบบได้โดยตรง
โดยใช้ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์
ส่วนมากเป็นรูปของสมการหรืออสมการ แต่ความสัมพันธ์ใน
ธรรมชาติอื่น ๆ ก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน ความสัมพันธ์หลายอย่าง
ไม่สามารถใช้คณิตศาสตร์ได้โดยตรง แต่ต้องใช้วิธีการอื่น ๆ และ
จ�
ำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อระบุถึงความสัมพันธ์
4. ปริภูมิและรูปทรงสามมิติ (Space and shape)
เป็น
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรขาคณิต และการวัด ซึ่งเป็นพื้นฐานไปสู่
กิจกรรมของการวาด การสร้างและการอ่านแผนที่ การแปลงรูปร่าง
โดยใช้และไม่ใช้เทคโนโลยี การตีความความสัมพันธ์ระหว่างภาพ
(images) ไปยังความรู้สึกในรูปของสามมิติ และการน�
ำเสนอวัตถุ
และรูปร่าง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องแบบรูป (pattern) ซึ่งมีอยู่
ทั่วไปในชีวิตประจ�
ำวัน แม้แต่การพูด ดนตรี การจราจร การก่อสร้าง
ศิลปะ เป็นต้น รูปร่างที่เป็นแบบรูปที่เห็นได้ทั่วไป เช่น รูปร่างของ
บ้าน โรงเรียน อาคาร สะพาน ถนน ดอกไม้ การศึกษาเรื่องของรูปร่าง
มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับแนวคิดของเรื่องที่ว่าง ซึ่งต้องการ
ความเข้าใจในเรื่องของสมบัติของวัตถุและต�
ำแหน่งเปรียบเทียบ
ของวัตถุ เราต้องรู้ว่าเรามองเห็นวัตถุของต่าง ๆ อย่างไร และท�
ำไม
เราจึงมองเห็นมันอย่างที่เราเห็น เราต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง
รูปร่างและภาพในความคิด หรือภาพที่เรามองเห็น เป็นต้นว่า
มองเห็นความสัมพันธ์ของตัวเมืองจริงกับแผนที่ รูปถ่ายของ
เมืองนั้น ข้อนี้รวมทั้งความเข้าใจในรูปร่างที่เป็นสามมิติที่แสดง
แทนออกมาในภาพสองมิติ มีความเข้าใจในเรื่องของเงาและภาพ
ที่มีความลึก (perspective) และเข้าใจด้วยว่ามันท�
ำงานอย่างไร
เมื่อพิจารณาจะพบว่าเนื้อหาที่ PISA ใช้ในการประเมิน
นั้นเน้นไปยังการน�
ำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจ�
ำวัน ซึ่ง
สอดคล้องกับทักษะที่จ�
ำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยหากมองย้อน
กลับมาดูหลักสูตรคณิตศาสตร์ในประเทศนั้นซึ่งได้มีการปฏิรูป
เมื่อปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2551 โดยสามารถเปรียบเทียบกับ
เนื้อหาคณิตศาสตร์ของ PISA ได้ดังนี้