Previous Page  23 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 23 / 62 Next Page
Page Background

23

ปีที่ 42 ฉบับที่ 187 มีนาคม - เมษายน 2557

ตีรวิชช์ ทินประภา

อาจารย์ประจำ

�สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

e-mail

:teerawit.ti@ssru.ac.th

การรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์

(Mathematical Literacy)

ทักษะที่จ�

ำเป็นในศตวรรษที่ 21

หลังจากที่

เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการ

เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century

Skills)

หรือที่มีชื่อว่า

เครือข่ายที่ P21

ได้พัฒนาวิสัยทัศน์เพื่อ

ความส�

ำเร็จของนักเรียนในระบบเศรษฐกิจโลกใหม่ ซึ่งประกอบ

ด้วยทักษะที่จ�

ำเป็นในศตวรรษที่ 21 คือ 1. ทักษะการเรียนรู้และ

นวัตกรรม 2. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี และ

3. ทักษะชีวิตและอาชีพ

ในวงการคณิตศาสตร์ก็ได้มีการปฏิรูป

การเรียนการสอนเช่นกัน โดยเฉพาะการประเมินผล PISA

(Programme for International Student Assessment)

ซึ่ง PISA จะมีการประเมินทุก ๆ 3 ปี ในปัจจุบันมีประเทศ

เข้าร่วมการประเมินมากกว่า 70 ประเทศ โดยได้มีขึ้นครั้งแรก

เมื่อปี ค.ศ. 2000 ในการประเมินนั้นจะเน้นให้ความส�

ำคัญ

เกี่ยวกับความสามารถของเยาวชนในการใช้ความรู้และทักษะ

เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง และการประเมิน PISA 2012 นั้น

เน้นไปยังการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy)

การรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy)

PISA 2012 ได้อธิบายความหมายของการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์

ไว้ว่า เป็นสมรรถนะของบุคคลในการสร้าง (formulate) การใช้

(employ) และการแปลความ (interpret) ทางคณิตศาสตร์

ในบริบทต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และ

การใช้มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ขั้นตอน ข้อเท็จจริง เครื่องมือใน

การอธิบาย หรือบรรยาย และท�

ำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดย

การรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลรับรู้ถึง

บทบาทของคณิตศาสตร์ในสถานการณ์จริง และเป็นพลเมืองที่มี

ความคิด มีความห่วงใย และสร้างสรรค์สังคม ส�

ำหรับการประเมิน

การรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์นั้น PISA ได้ก�

ำหนดเนื้อหาขอบเขต

ไว้ 4 เรื่อง ดังนี้ 1. ปริมาณ (Quantity) 2. ความไม่แน่นอน

และข้อมูล (Uncertainty and data) 3. การเปลี่ยนแปลงและ

ความสัมพันธ์ (Change and relationships) และ 4. ปริภูมิ

และรูปทรงสามมิติ (Space and shape)