

16
นิตยสาร สสวท.
การเตรียมกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ของผู้สอนในการ
จัดการเรียนรู้แบบโครงงานก็จำ
�เป็นจะต้องมีความยืดหยุ่นและ
ปรับไปตามสถานการณ์หรือความต้องการของผู้เรียน
เป็นสำ
�คัญ เนื่องจากผู้เรียนจะเป็นผู้ตั้งคำ
�ถาม กำ
�หนดวิธีการ
หาคำ
�ตอบ และเลือกวิธีการหาคำ
�ตอบหรือวิธีการทำ
�กิจกรรม
แตกต่างกันไปตามความต้องการของตนเอง ในการเตรียมสื่อ
วัสดุอุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้ล่วงหน้า ครูอาจทำ
�ได้ด้วยการ
คาดคะเนหรือกำ
�หนดขอบเขตและแนวทางของการหาคำ
�ตอบ
จากคำ
�ถามที่ผู้เรียนร่วมกันตั้งขึ้นในช่วงต้นของการทำ
�โครงงาน
ลักษณะสำ
�คัญของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็น
อย่างไร
Buck Institute for Education (BIE) เป็นสถาบันที่
มุ่ ง เ น้นกา รส่ ง เ ส ริมกา ร จัดก า ร เรี ยนรู้ แบบ โ คร ง ง าน
ได้เสนอแนะองค์ประกอบสำ
�คัญของการจัดการเรียนรู้
แบบโครงงานที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้
•
มีความมุ่งหมายที่จะสอนเนื้อหาสาระที่สำ
�คัญ
เป้าหมายของการเรียนรู้ของผู้เรียน คือ ให้ผู้เรียนได้เรียน
รู้แนวคิดหลักที่ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้ของสาระการ
เรียนรู้วิชาต่าง ๆ
•
พัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 โดยเน้นการคิดวิพากษ์
การแก้ปัญหา ความร่วมมือร่วมใจ และการสื่อสารในรูปแบบ
ที่หลากหลาย
ในการตอบคำ
�ถามนำ
� (Driving Question)
และสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพสูง ผู้เรียนต้องลงมือทำ
�มากกว่า
การท่องจำ
�ข้อมูล ผู้เรียนต้องใช้ทักษะการคิดขั้นสูงและเรียน
รู้การทำ
�งานร่วมกันเป็นทีม ในขณะที่ทำ
�การสื่อสาร ผู้เรียน
ต้องรับฟังผู้อื่นและถ่ายทอดความคิดของผู้เรียนให้ผู้อื่นเข้าใจ
ได้อย่างชัดเจน อีกทั้งผู้เรียนยังต้องสามารถอ่านข้อมูลจาก
แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้ รวมทั้งสามารถเขียนหรืออธิบายผ่านวิธี
การที่หลากหลายได้อย่างชัดเจนและทำ
�การนำ
�เสนอได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
•
ต้องใช้การสืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการในการ
เรียนรู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่
ผู้เรียนถามคำ
�ถาม ค้นหาคำ
�ตอบ
และลงข้อสรุป ซึ่งทำ
�ให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในเชิงความคิด
หรือการได้ชิ้นงาน
•
เป็นการ เรียนรู้ที่ดำ
� เนินการภายใต้คำ
�ถามนำ
�
ซึ่งเป็นคำ
�ถามปลายเปิด
และเป็นตัวกำ
�หนดขอบเขตประเด็น
ข้อโต้แย้ง ความท้าทายหรือปัญหาที่สำ
�คัญ เพื่อทำ
�ให้งานและ
การเรียนรู้ของผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายและลุ่มลึก
•
สร้างความตระหนักถึงความจำ
�เป็นที่จะต้องมีความ
รู้เนื้อหาและทักษะที่จำ
�เป็น
ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
แบบโครงงานมีการจัดลำ
�ดับของกระบวนการเรียนรู้ที่ต่างจาก
การเรียนรู้แบบดั้งเดิม นั้นคือ ในหน่วยการเรียนรู้ทั่วไปที่มีการทำ
�
โครงงานเพิ่มเข้ามาท้ายหน่วยจะเริ่มจากการนำ
�เสนอความรู้และ
แนวคิดให้แก่ผู้เรียนก่อน จากนั้นจึงให้โอกาสผู้เรียนนำ
�ความรู้ไป
ประยุกต์ใช้ แต่ในทางกลับกัน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
เเบบโครงงานนั้นจะเริ่มต้นด้วยการเห็นผลิตผลหรือการนำ
�เสนอ
ผลงานปลายทาง ซึ่งจะทำ
�ให้ผู้เรียนตระหนักถึงความจำ
�เป็นที่
จะต้องเรียนรู้และทำ
�ความเข้าใจข้อมูลและแนวคิดต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำ
�มาใช้ในการทำ
�โครงงานให้ได้ผลผลิตหรือ
ผลงานตามเป้าหมายที่ต้องการ
•
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เเสดงความคิดเห็นเเละเลือก
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ที่จะทำ
�งานด้วยตนเองเเละเเสดงความ
รับผิดชอบเมื่อตนเองเลือกศึกษาสิ่งที่สนใจ การที่ผู้เรียนได้
มีโอกาสเลือกสิ่งที่ต้องการศึกษาเเละแสดงออกถึงสิ่งที่ได้
เรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของ
ผู้เรียน
•
มีกระบวนการทบทวนและสะท้อนกลับ
ผู้เรียน
ได้เรียนรู้ที่จะให้และรับการเสนอแนะและความคิดเห็น
เ พื่อพัฒนาคุณภาพขอ ง ผล ง านที่ ไ ด้สร้ า ง สร รค์ขึ้นมา
และมีคำ
�ถามที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความคิดถึง
สิ่งที่ได้เรียนรู้ว่ามีอะไรบ้างและมีกระบวนการเรียนรู้อย่างไร
•
ผู้ชมสาธารณะเข้ามามีส่วนร่วม
ผู้เรียนนำ
�เสนองาน
ที่ได้ศึกษาให้แก่ผู้อื่นนอกเหนือไปจากเพื่อนร่วมชั้นและผู้สอน
ทั้ ง ก า ร นำ
� เ ส น อ โ ด ย ตั ว บุ ค ค ล ห รื อ ผ่ า น สื่ อ ต่ า ง ๆ
ซึ่งกระบวนการนี้เป็นการส่งเสริมกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายาม
ทำ
�งานออกมาอย่างมีคุณภาพและทำ
�โครงงานให้มีความถูกต้อง
น่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น