

10
นิตยสาร สสวท.
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี ค.ศ. 2013
สิ่งส�
ำคัญที่สุดคือ
ความส�
ำเร็จ
นักปีนเขาสองคน ได้ปีนขึ้นมาถึงยอดเขาเอเวอเรสต์ ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก พวกเขาต้องการบันทึกภาพความส�
ำเร็จนี้เอาไว้ แต่กล้อง
ที่พวกเขามี สามารถบันทึกภาพไว้ได้เพียงภาพเดียวเท่านั้น เพราะแบตเตอรี่ใกล้หมดเต็มที ใครจะเป็นคนถ่ายภาพ ใครจะเป็นคนแสดงท่าดีใจ
ให้อีกคนถ่าย
ถ้าสถานการณ์นี้ เกิดขึ้นกับผู้ที่ก�
ำลังอ่านบทความนี้ หลายท่านคงตัดสินใจล�
ำบาก เพราะถ้าจะยอมเป็นผู้ถ่ายภาพให้กับเพื่อนอีกคน
การฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ทั้งความหนาวเย็น หิวโหย เหนื่อยล้า และ การเสี่ยงชีวิต เพื่อให้มาถึงยอดเขา จะเหลือแต่ความทรงจ�
ำ ที่ไม่มีการ
บันทึกไว้เป็นหลักฐานเก็บไว้ให้กับ ญาติพี่น้อง เพื่อน ๆ และ ชาวโลกได้ชื่นชม แต่เมื่อลองได้อ่านเบื้องหลังของผลงานที่ได้รับรางวัลโนเบล
สาขาฟิสิกส์ ปี ค.ศ. 2013 ต่อไปนี้ การตัดสินใจกับสถานการณ์คล้ายกันนี้ อาจจะง่ายขึ้น
รักษพล ธนานุวงศ์
นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนต้น สสวท. / e-mail:
rthan@ipst.ac.thรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจ�
ำปี ค.ศ. 2013 ของนักฟิสิกส์ 2 คน 2 สัญชาติ ที่น�
ำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการที่ได้มา
ซึ่งมวลของอนุภาคมูลฐาน ที่เรียกว่า
กระบวนการบีอีเอช (BEH mechanism)
นักฟิสิกส์ 2 ท่านนั้น ได้แก่
ปีเตอร์ ฮิกส์ (Peter
Higgs)
ชาวสกอตแลนด์ และ
ฟรองซัวส์ อองแกลร์ (Francois Englert)
ชาวเบลเยียม โดยตัวอักษร BEH เป็นตัวอักษรขึ้นต้น
ของนามสกุลของผู้น�
ำเสนอแนวคิดของกระบวนการดังกล่าวทั้ง 3 คน นักฟิสิกส์อีกคน คือ
โรเบิร์ต เบลาต์ (Robert Brout)
ได้เสียชีวิตไปแล้ว
ภาพที่ 1 ฟรองซัวส์ อองแกลร์ (ซ้าย) ปีเตอร์ ฮิกส์ (กลาง) โรเบิร์ต เบลาต์(ขวา)
(ที่มา:
http://wwhw.nobelprize.org/nobel_prizes/physics/laureates/2013/และ
http://cerncourier.com/cws/article/cern/35887)